ประสบการณ์ของสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส

Authors

  • นิรัชรา สาแล๊ะ
  • กิตติกร นิลมานัต
  • วิภาวี คงอินทร์

Abstract

การศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์ของสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสในอย่างน้อย 6 เดือนจำนวน 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้หลักการวิเคราะห์ของ แวน มาเนน

ผลการศึกษา พบว่า สตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสให้ความหมายของการได้รับยาต้านไวรัสใน 2 ลักษณะคือ 1) อยู่อย่างมีความหวัง ยาคือความหวัง และ 2) ทานยาเพื่อต่อลมหายใจต่อชีวิต ซึ่งการดูแลตนเองระหว่างการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ได้แก่ 1) ระมัดระวังการรับประทานอาหาร 2) มีวินัยในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง 3) รับประทานยาให้ต่อเนื่องและตรงเวลา 4) ปรับวิธีคิดยอมรับชะตากรรมและ 5) ค้นความหมายในชีวิตเพื่ออยู่อย่างมีคุณค่า

ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตของสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์มากยิ่งขึ้น บุคลากรสุขภาพสามารถใช้เป็นแนวทางในการให้การดูแลอย่างองค์รวม สอดคล้องกับวิถีทางวัฒนธรรมของสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และเป็นข้อมูลพื้นฐานการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำสำคัญ: สตรีไทยมุสลิม เอชไอวี/เอดส์ ยาต้านไวรัส

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

1.
สาแล๊ะ น, นิลมานัต ก, คงอินทร์ ว. ประสบการณ์ของสตรีไทยมุสลิมที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้านไวรัส. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 13 [cited 2024 Apr. 20];26(1):82. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2669