ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยหลักพุทธธรรมต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวช ระยะลุกลามในโรงพยาบาล

Authors

  • สมพร ปานผดุง พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • กิตติกร นิลมานัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ลัพณา กิจรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

หลักพุทธธรรม ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลาม, ญาติผู้ดูแล, Buddhist teachings, spiritual wellbeing, advanced gynaecological cancer patient, family caretaker

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยหลักพุทธธรรมต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลามในโรงพยาบาล
การออบแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลามในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้จำนวน 45 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 25 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยหลักพุทธธรรม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยหลักพุทธธรรม ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทีคู่ และสถิติทีอิสระ
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.324, p <.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =7.87, p < .001)
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลามและญาติผู้ดูแล ควรนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้เพื่อส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชระยะลุกลาม เพื่อช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องต่อไป

Abstract:Objective: To examine the impact that a spiritual wellbeing promotion programme based on Buddhist teachings had on the spiritual wellbeing of family caretakers who were taking care of hospitalised advanced gynaecological cancer patients.
Design: Quasi-experimental research.
Implementation: The subjects were 45 family caretakers taking care of advanced gynaecological cancer patients in a tertiary Southern Thailand hospital. The subjects were divided into 2 groups, 25 in the control group and 20 in the experimental group. Those in the control received standard care treatment, whilst those in the experimental group participated in the Buddhism-based spiritual wellbeing promotion programme. The instruments included the Buddhism-based spiritual wellbeing promotion programme, which was used to conduct the experiment, and two questionnaires—a general information questionnaire and a spiritual wellbeing questionnaire—both of which were used to collect data. The data were analysed using descriptive statistics, and the hypotheses were tested using a paired T-test and an independent T-test.
Results: The study showed a significant post-experimental increase in the degree of spiritual wellbeing amongst the members of the experimental group, by t = 13.324, p < .001. Moreover, the experimental group displayed a significantly higher post-experimental spiritual-wellbeing average than the control did, at t = 7.87, p < .001.
Recommendations: It is recommended that nurses and family caretakers responsible for advanced gynaecological cancer patients adopt this programme to improve the patients’ spiritual wellbeing in the long term.

Downloads

How to Cite

1.
ปานผดุง ส, นิลมานัต ก, กิจรุ่งโรจน์ ล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยหลักพุทธธรรมต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวช ระยะลุกลามในโรงพยาบาล. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Jun. 8 [cited 2024 Apr. 23];30(1):16-28. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/35403