อิทธิพลของระดับความปวด ลักษณะอาหาร และสุขภาพช่องปากต่อการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากหลังการผ่าตัด

Authors

  • อุษา เข็มทอง
  • ปรางทิพย์ ฉายพุทธ
  • วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์
  • สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์

Keywords:

คำสำคัญ, การรับประทานอาหาร ลักษณะอาหาร มะเร็งช่องปาก สุขภาพช่องปาก ความปวด Keywords, consumption of food, type of food, oral cancer, oral health, pain

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาอำานาจการทำานายของระดับความปวด ลักษณะอาหาร และสุขภาพช่องปาก ต่อการรับประทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดช่องปาก

         การออกแบบวิจัย: การวิจัยแบบศึกษาอำนาจการทำนาย

         การดำเนินการวิจัย: ทฤษฎีการปรับตัวของรอยถูกนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ได้รับการผ่าตัดช่องปากจำานวน 59 ราย ที่มารับการตรวจติดตามการรักษาหลังการผ่าตัดที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินระดับความปวด, 2) การประเมินลักษณะอาหาร และการรับประทานอาหาร จากแบบประเมินภาวะการทำหน้าที่ของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ และ 3) แบบประเมินสภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณโดยใส่ตัวแปรเข้าพร้อมกัน

         ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าระดับความปวด ลักษณะอาหาร และสุขภาพช่องปาก สามารถร่วมกันทำนายการรับประทานอาหารของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากได้ โดยอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 55.9 (R2= .313, p = .001) ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่มีสุขภาพช่องปากเปลี่ยนแปลงหลังการผ่าตัด มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

         ข้อเสนอแนะ: การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากจะช่วยส่งเสริมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากหลังผ่าตัด

Abstract:Objective: To examine the predictive power of the degree of pain, type of food, and oral health as a combined influence on postoperative oral cancer patients’ consumption of food.

         Design: Predictive research.

         Implementation: This study was conducted based on Roy’s theory of adjustment. The subjects were 59 postoperative oral cancer patients receiving follow-up treatment at 3 tertiary hospitals in Bangkok. Three instruments were used for data collection: (1) a pain assessment form; (2) a food and consumption assessment form (developed from the ‘Functional Assessment Form for Head and Neck Cancer Patients’), and (3) an oral health assessment form. The data were processed using multiple linear regression analysis with variables simultaneously entered.

         Results: The study showed that the degree of pain, type of food, and oral health formed a combined predictive factor for the postoperative oral cancer patients’ consumption of food, with a variation level of 55.9 (R2 = .313, p = .001). In addition, the cancer patients with a change in their postoperative oral health conditions were likely to adjust their food consumption behaviour.

         Recommendations: Caregiving efficiency is a necessary factor in promoting oral health improvement and food consumption in postoperative oral cancer patients.

คำสำคัญ:     การรับประทานอาหาร ลักษณะอาหาร มะเร็งช่องปาก สุขภาพช่องปาก ความปวด

Keywords: consumption of food; type of food; oral cancer; oral health; pain


Downloads

How to Cite

1.
เข็มทอง อ, ฉายพุทธ ป, ฉันท์เรืองวณิชย์ ว, จุฑาภิสิทธิ์ ส. อิทธิพลของระดับความปวด ลักษณะอาหาร และสุขภาพช่องปากต่อการรับประทานอาหารในผู้ป่วยมะเร็งช่องปากหลังการผ่าตัด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2015 Sep. 17 [cited 2024 Mar. 29];30(2):60-74. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/39659