ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Authors

  • เอมอร สุวรรณพิวัฒน์

Keywords:

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ, การดูแลช่องปาก, มะเร็ง, ยาเคมีบำบัด, การอมกลั้วปากด้วยน้ำมันพืช, น้ำมันมะพร้าว, stomatitis, oral health self-care, cancer, chemotherapy, coconut oil gargle

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่อ
อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

การออกแบบวิจัย: ทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 51 ราย เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก  ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม โดย การควบคุมตัวแปรเพศด้วยการจับสลาก กลุ่มทดลอง 1 (16 ราย)ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง  กลุ่มทดลอง 2 (16 ราย) ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง เช่นเดียวกับ กลุ่มทดลอง 1 ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว ในเวลาเช้าและก่อนนอน ติดต่อกัน เป็นเวลา 7 วัน กลุ่มควบคุม (19 ราย) ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างทุกรายจะได้รับ การประเมินอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบก่อนการทดลอง-ก่อนให้ยาเคมีบำบัด (T0) หลังได้รับ ยาเคมีบำบัดวันที่ 1 (T1) วันที่ 7 (T2) และวันที่ 14 (T3)
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มทดลอง 2 มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบแตกต่าง จากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .01) โดยมีคะแนนเพิ่มสูงสุดในวันที่ 7  (T2) และลดลงในวันที่ 14 (T3) หลังได้รับยาเคมีบำบัดและกละกลุ่มทดลอง 2  มีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบต่ำกว่ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
ข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้ให้หลักฐานสนับสนุนว่าโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าว ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีการดูแลตนเอง และช่องปาก เพื่อจัดการอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบที่ดีขึ้น ช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากได้ดีกว่าการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว จึงควรมีการสนับสนุนให้มีการใช้โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมะพร้าวในทางคลินิกต่อไป

Objective: To study the effects of the combined use of an oral health self-care programme and a coconut oil gargle on stomatitis in cancer patients treated with chemotherapy.
Design: Randomised clinical trial with a control group.
Procedure: The sample consisted of 51 colorectal cancer patients treated as inpatients at a campus hospital in southern Thailand.  Applying a block randomised design to the factor of sex, the researcher divided the 51 patients into 3 groups: 16 into experimental group 1; 16 into experimental group 2; and the remaining 19 into the control group.  Experimental group 1 received the oral health self-care programme alone, whilst experimental group 2 received both the oral health self-care programme and the 7-day, twice-daily (morning and bedtime) use of a coconut oil gargle.  The control group, on the other hand, was given standard care.  Every participant received a stomatitis assessment before the experiment, before chemotherapy (T0), and on the first (T1), seventh (T2) and fourteenth (T3) days after chemotherapy.
Results: After the trial, experimental group 2 showed a significantly improved stomatitis condition score (p < .01), with their score peaking on the seventh day (T2) and declining on the fourteenth day (T3) after chemotherapy.  Experimental group 2 also significantly outscored both experimental group 1 and the control group on stomatitis condition improvement (p < .01).
Recommendations: The findings of this study provide evidence that supports the combined use of an oral health self-care programme and a coconut oil gargle to enhance the oral health self-care ability in cancer patients treated with chemotherapy.  This combined method was found to be more effective in alleviating the severity of stomatitis than the use of the oral health self-care programme alone.  For this reason, it is recommended that this combined method be further promoted for clinical purposes.

Downloads

How to Cite

1.
สุวรรณพิวัฒน์ เ. ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการอมกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวต่ออาการเยื้อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2017 Jun. 8 [cited 2024 Mar. 28];32(1):18-31. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/89201