ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสําหรับการจัดการความปวดใน ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด

Authors

  • จรรยา หมื่นรังษี
  • ฉวีวรรณ ธงชัย
  • มยุลี สำราญญาติ

Keywords:

การจัดการความปวดหลังผ่าตัด การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์, แนวปฏิบัติทางคลินิก, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ, postoperative pain management, evidence-based practice, clinical practice guidelines, post cardiac surgery

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทรวงอก หัวใจและหลอดเลือดการออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational research)วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 โดยเป็นกลุ่มที่ไม่มีการใช้แนวปฏิบัติ (Non clinical practice guidelines or non CPGs)จำนวน 122 คน และกลุ่มที่มีการใช้แนวปฏิบัติ (clinical practice guidelines or CPGs)จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แนวทางการระงับปวดเฉียบพลัน(clinical guidance for acute pain management ) ของสมาคมศึกษาความปวดแห่งประเทศไทย และ 2)แบบรวบรวมผลลัพธ์ (outcome evaluation form)ประกอบด้วย ผลการบรรเทาความปวด และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการความปวด ดำเนินการศึกษาตามกรอบแนวคิดการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (CPGsimplementation framework of the Australian National Health and Medical Research Council) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกจำนวน 120 คน ได้รับการจัดการความปวดจำนวน 415 ครั้ง มีผลในการบรรเทาความปวดอยู่ในระดับมากร้อยละ 70.60 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกจำนวน 122 คน ได้รับการจัดการความปวด 488 ครั้ง มีผลการบรรเทาความปวดอยู่ในระดับมากเพียงร้อยละ 18.44 สำหรับความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการจัดการความปวดพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกถึงร้อยละ 97.50 มีความพึงพอใจในระดับมาก ในขณะที่เพียงร้อยละ 77.05 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกแสดงความพึงพอใจในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ: ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนโดยกำหนดเป็นนโยบายในการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกมาใช้และแนวปฏิบัตินี้ควรมีการพัฒนาให้มีความทันสมัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างสมำเสมอ

คำสำคัญ: การจัดการความปวดหลังผ่าตัด การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ แนวปฏิบัติทางคลินิก(clinical practice guideline) ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

Downloads

How to Cite

1.
หมื่นรังษี จ, ธงชัย ฉ, สำราญญาติ ม. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสําหรับการจัดการความปวดใน ผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Sep. 30 [cited 2024 Mar. 28];28(2):30-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/11651

Issue

Section

Clinical nursing practice guidelines