ปัจจัยทำนายการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Authors

  • เพ็ญศรี จิตต์จันทร์
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย ระหว่าง อาการ โรคร่วม และการสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 และระยะที่ 5ที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 217 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แบบประเมินอาการ และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติหน้าที่โดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง( = 2.63, SD = 0.96) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจกรรมการดูแลส่วนบุคคลมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.04, SD = 1.02) การปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจกรรมในบ้าน ครอบครัว และการปฏิบัติหน้าที่ด้านสังคมและชุมชน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.56, SD = 0.01; = 2.52, SD = 0.97 ตามลำดับ) ปัจจัยด้าน อาการ โรคร่วม และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ร้อยละ 15.6 โดยการสนับสนุนทางสังคม (Beta = .212, p < .05)สามารถทำนายได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ อาการ (Beta = -.197, p < .01)

ผลการวิจัย สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 และระยะที่ 5 ที่ไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยใช้ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมจัดการอาการ ควบคุมโรคร่วม เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยให้ได้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ปัจจัยทำนาย, อาการ, การปฏิบัติหน้าที่, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Downloads

Published

2012-09-13

How to Cite

1.
จิตต์จันทร์ เ, มาสิงบุญ เ, ด้วงแพง ส. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Sep. 13 [cited 2024 Mar. 29];26(2):86. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2677