ปัจจัยทำนายสมดุลไนโตรเจนในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

Authors

  • กรรณิกา วิชัยเนตร
  • อรพรรณ โตสิงห์
  • ปรางทิพย์ ฉายพุทธ
  • จตุพร ศิริกุล

Keywords:

การได้รับอาหารผ่านทางเดินอาหาร บาดเจ็บรุนแรง สมดุลไนโตรเจน การตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายearly enteral nutrition, major trauma, systemic inflammatory response

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ  การตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย การได้รับสารอาหารผ่านทางเดินอาหารตั้งแต่เริ่มแรก ต่อสมดุลไนโตรเจนในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 77 ราย  ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลศัลยกรรม และหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการบาดเจ็บและการรักษา แบบบันทึกเกี่ยวกับโภชนาการ แบบประเมินคะแนนกลุ่มอาการการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย (SIRS Score)  และแบบประเมินการตอบสนองของร่างกายหลังการบาดเจ็บ (Revised Trauma Score: RTS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: การตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย และการได้รับสารอาหารผ่านทางเดินอาหารตั้งแต่เริ่มแรก สามารถร่วมกันทำนายสมดุลไนโตรเจนในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง ร้อยละ 44 (R2= 0.44, p < 0.000) โดยการได้รับสารอาหารผ่านทางเดินอาหารตั้งแต่เริ่มแรก สามารถทำนายได้สูงสุด (β = -0.51, p < 0.000) รองลงมาคือ การตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกาย (SIR) (β =  -0.31, p < 0.001)

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพควรติดตามการสูญเสียยูเรียไนโตรเจนในปัสสาวะของผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใน 72 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ   และผู้ป่วยควรได้รับอาหารผ่านทางเดินอาหารเร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บเพื่อป้องกันสมดุลไนโตรเจนติดลบ

Downloads

How to Cite

1.
วิชัยเนตร ก, โตสิงห์ อ, ฉายพุทธ ป, ศิริกุล จ. ปัจจัยทำนายสมดุลไนโตรเจนในผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2013 Dec. 31 [cited 2024 Apr. 19];28(4):81-94. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/17005