การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน : หลักการและแนวทางการพยาบาล

Authors

  • วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์
  • เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธ์

Abstract

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานเมื่ออาการของโรครุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหากลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการสั่น ตัวแข็ง เกร็ง การเคลื่อนไหวช้า มีปัญหาในการเดิน ถึงแม้ว่าจะใช้ยาในกลุ่มของ ลีโวโดปา ช่วยในการควบคุมอาการดังกล่าว การใช้ยาในระยะยาวและในขนาดสูงนั้นมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากมายที่เกิดกับผู้ป่วย การทำผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (DBS) นับเป็นวิธีการใหม่ที่ช่วยยับยั้งการทำงานของสมองส่วนที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันการฝังอเลคโทรดเข้าไปที่บริเวณสับธาลามิคนิวเคลียส นับเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเพื่อลดอาการที่เกิดเนื่องมาจากโรคพาร์กินสัน ผลของการรักษาด้วยวิธีการกระตุ้นสมองส่วนลึกนั้นให้ผลเหมือนการผ่าตัดที่ตัดบางส่วนของธาลามัสหรือพัลลิดัส แต่การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองส่วนลึกส่วนของเนื้อสมองจะไม่ถูกทำลายการมีความรู้และเข้าใจถึงวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกว่าทำอย่างไรและควรดูแลผู้ป่วยอย่างไรนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นจากการผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ บทความนี้จึงประกอบด้วยเนื้อหาที่อธิบายถึง หลักการการทำงานของการกระตุ้นสมองส่วนลึก วิธีการผ่าตัดโดยสรุป ข้อดี ข้อจำกัดในการทำผ่าตัด และแนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก ตลอดจนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

คำสำคัญ : การทำผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก โรคพาร์กินสัน การพยาบาล

Downloads

Published

2012-08-28

How to Cite

1.
ฉันท์เรืองวณิชย์ ว, อุทริยะประสิทธ์ เ. การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึกในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน : หลักการและแนวทางการพยาบาล. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2012 Aug. 28 [cited 2024 Apr. 19];21(3):22. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2389