ผลของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นิธิกาญจน์ ขันติวรพงศ์
ชวนชม ธนานิธิศักดิ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของโปรแกรมเลิกบุหรี่ของพระสงฆ์ในอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้ามามีส่วนร่วม วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบทดลองที่มีตัวอย่างสองและมีการวัดผลก่อน-หลัง อสม. ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมจากเภสัชกรในด้านความรู้เกี่ยวกับการช่วยเลิกบุหรี่และขั้นตอนการดำเนินงานก่อนจะลงปฏิบัติงานจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน 66 รูปใน 8 ตำบล ผู้วิจัยสุ่มแยกตำบลเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มมีพระสงฆ์ 33 รูป กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมโดยได้รับการติดตามโดย อสม. ทุกสัปดาห์ ระยะเวลาในการศึกษา คือ 12 สัปดาห์ การศึกษาเก็บข้อมูลปริมาณการสูบบุหรี่ประจำวัน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และความรุนแรงของการเสพติดนิโคตินโดยใช้  Fagerstrom Test For Nicotine Dependence ผลการวิจัย: เมื่อประเมินจากการเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอด  7 วัน พบว่า กลุ่มทดลองสามารถเลิกบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 4 (6 รูปหรือร้อยละ 18.2  และ 1 รูปหรือร้อยละ 3.0 ตามลำดับ, P=0.105) และในสัปดาห์ที่ 12 (เลิกได้ 21 รูปหรือร้อยละ 63.6 และ 7 รูปหรือร้อยละ 21.2 ตามลำดับ, P=0.001) ทั้งนี้ ไม่มีพระสงฆ์ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 และ 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองคะแนนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม 8.85±2.01 (P<0.001) โดยลดลงจาก 25.52±4.47 เหลือ12.97±7.62 (P<0.001)  และ 26.58±4.64 เหลือ 21.82±8.73 (P=0.002) ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ ระดับการติดนิโคตินในกลุ่มทดลองมีคะแนนลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม เท่ากับ 2.61±0.61 คะแนน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ระดับการติดนิโคตินลดลงจาก 4.61±1.66 เหลือ1.36±2.19 คะแนน (P<0.001) และจาก 5.06±1.83 เหลือ 3.97±2.73 คะแนน (P=0.003) ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามลำดับ สรุป: โปรแกรมการเลิกบุหรี่ทำให้พระสงฆ์มีระดับการติดนิโคตินและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่ลดลงทั้งในกลุ่มที่มีและไม่มี อสม. มีส่วนร่วมในการติดตามดูแลพระสงฆ์ อย่างไรก็ตาม ผลการเลิกบุหรี่สำเร็จที่ 12 สัปดาห์ ในกลุ่มที่ อสม. มีส่วนร่วมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มี อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรสนับสนุนโปรแกรมเลิกบุหรี่ในพระสงฆ์ และสนับสนุน อสม. ให้มีส่วนร่วมในโปรแกรมเลิกบุหรี่ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Vathesatogkit P, editor. Information of cigarette and health for monks. Bangkok: Rakpim Publishers; 2009.

2. Pitayarangsarit S, Iamanun P, Punkrajung P and Sommit K. Summary of Thai tobacco smoking situation in 2012. Bangkok: Charoendeemunkong Publishers; 2012.

3. National Statistical Office. The smoking and drinking behavior survey 2014. Bangkok: Text and Journal Publication Publishers; 2014.

4. Thai Health Promotion Foundation. Diseases caused by cigarettes [online]. 2011 [cited Jul 20, 2015]. Available from: www.thaihealth.or.th/Content/ 20828โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่.html

5. Smoking Cessation Call Center. Smoking Cessation guideline. Bangkok: Pre-wan Publishers; 2010.

6. Champat C. Factors related to smoking of buddhist monks in Meuang district, Surat Thani province. The 9th Hatyai National and International Conference; 2018 Jul 20; Songkla: Hatyai University; 2018. p. 814-22.

7. Charoenca N, Kungskulniti N, Kengkanphanit T, Kusolvisitkul W, Pichainarong N, Kerdmongkol P, et al. Smoking prevalence among monks in Thailand. Bangkok: Mahidol University; 2004.

8. Bussaratid S, Siripaiboonkij A. Study of smoking cessation rate at smoking cessation clinic, Siriraj Hospital, Thailand. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2012; 57: 305-12.

9. Vathesatogkit K. How can village health volunteers help people quit smoking? Bangkok: Action on Smoking and Health Foundation; 2012.

10. Rungruanghiranya S. Smoking disease therapy for patients who wanted to quit smoking. In: Rungruanghiranya S, Suntorntham S, editors. Guideline for evidence-based treatment of tobacco in Thailand. Bangkok; 2012. p. 28-57.

11. Benjanakaskul P. Effectiveness of Vernonia Cinerea for smoking cessation [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.

12. Nammuang S. Factors relating to cigarette smoking behavior of sick monks and novices utilizing health services in the Priest Hospital [dissertation]. Bangkok: Kasetsart University; 2003.

13. Phongsri P. Creating and developing research instrument. 4th ed. Bangkok: Dansutta Publishing; 2014.

14. Leegchur N, Thananithisak C. Effectiveness of pharmacist-based smoking cessation program in the conscripts at the Wing 5 Air Base. Isan J of Pharmaceutical Sciences 2018; 14: 21-34.

15. Thripopskul W, Sittipunt C. Efficacy of Vernonia Cinerea for smoking cessation in Thai active smokers. Bangkok: Tobacco Control Research and Thai Health Promotion Foundation; 2011.

16. Kootanavanichpong N, Poomriew R, Leyatikul P, Petliap W. Cigarette smoking situation among monks, novices, nuns and followers and effects of program for development of temple smoke-free area Nakhorn Ratchasima Province, Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health 2014;37:94-107.

17. Luksamijarulkul S, Luengektin P, Wongvijitsuk S. The evaluation of smoking cessation project of personnel in Huachiew Chalermprakiet University. APHEIT Journal (Science and Technology) 2015; 4: 46-57.

18. Imnamkhao S. Behavioral patterns of smokers at the smoking cessation clinic in Mahasarakham. Journal of Nursing Division 2012; 39: 7-20.

19. Ditsarintripada P. The effectiveness of a smoking cessation program among workers in textile industry, Nakorn Pathom Province [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2010.

20. Khasemophas D, Cheewapat P. the effectiveness of a counseling program for smoke-free families. Kuakarun Journal of Nursing 2012; 19: 103-17.

21. Phumsawat W, Suthisisang C, Suksomboon N, Montakantikul P, Choosangthong P, Korsanan S, et al. Clinical practice guideline in smoking cessation. Nonthaburi: Department of Medical Services; 2003.

22. Thumwong N. Developing role of community health volunteer for mental health disorders screening in Thakuntho Hospital Thakuntho District, Kalasin. Research and Development Health System Journal 2009; 2: 51-65.

23. Kleebpratoom P. Effect of the smoking cessation program for quit smoking behavior among smokers at Bangkaew Subdistrict, Muang Angthong District, Angthong Province [dissertation]. Bangkok: Mahidol University; 2016.

24. Tetjativaddhana P, Kitreerawutiwong N. Perform- ance assessment of village health volunteer working in district health network, Pompiram district, Phitsa nulok province. Journal of Public Health Nursing 2014; 28: 6-28.