สถานการณ์ระบบการจัดการยาช่วยชีวิตฉุกเฉินในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนภัทร พอจิตร
รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์
พักตร์วิภา สุวรรณพรหม
กุลระวี วิวัฒนชีวิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของระบบการจัดการยาช่วยชีวิตฉุกเฉินในหน่วยบริการปฐมภูมิ (primary care unit: PCU) จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการ: การศึกษาใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ PCU ทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ 267 คน (ตอบกลับ 167 คน) และกลุ่มเภสัชกรโรงพยาบาลแม่ข่ายทุกแห่ง 23 คน (ตอบกลับทั้งหมด) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มด้วยแนวคำถามกับผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำ PCU 6 คน และกลุ่มเภสัชกรในโรงพยาบาลแม่ข่าย 8 คน ผลการศึกษา: การสำรวจในด้านปัจจัยนำเข้าพบว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ใช้ยาช่วยชีวิตฉุกเฉินบ่อยที่สุดใน PCU  ในด้านอัตรากำลัง PCU ร้อยละ 98.50 ได้รับสนับสนุนให้มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานประจำ ร้อยละ 73.72 ของพยาบาลวิชาชีพใน PCU เคยผ่านประสบการณ์การทำงานในระดับโรงพยาบาล และร้อยละ 83.94 ผ่านหลักสูตรการอบรม และขึ้นทะเบียนพยาบาลเวชปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาล ในด้านกระบวนการ พบว่า ร้อยละ 74.85 ของผู้ให้บริการปฏิบัติตามแนวทางในการตรวจรักษา/การใช้ยาช่วยชีวิตฉุกเฉิน ร้อยละ 43.47 ของโรงพยาบาลแม่ข่ายจัดระบบการเบิกยาช่วยชีวิตฉุกเฉินให้เร่งด่วนกว่าการเบิกยาทั่วไป และด้านผลผลิตพบว่า ผู้ให้บริการร้อยละ 75.46 ตัดสินใจใช้ยาช่วยชีวิตแก่ผู้ป่วยเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงประสานกับโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อปรึกษา/นำส่งผู้ป่วย PCU ในประเด็นเรื่องความปลอดภัย ร้อยละ 82.93 ไม่มีระบบการบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา ข้อเสนอจากกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญคือ อยากให้มีการอบรมให้ความรู้เฉพาะด้านยาช่วยชีวิตอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนคู่มือ/แนวทางในการใช้ยาช่วยชีวิตจากโรงพยาบาลแม่ข่าย  สรุป: สถานการณ์ระบบการจัดการยาช่วยชีวิตฉุกเฉินใน PCU จังหวัดเชียงใหม่ ควรได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในระบบการจัดการการใช้ยาช่วยชีวิตฉุกเฉินใน PCU จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Mapanta S. Emergency drugs. In: Ningsanon T, editor. Drug information for public health personnel. 2nd ed. Bangkok: Hospital Pharmacy Association of Thailand; 2007. p. 203-27.

2. Institute for Safe Medication Practices. List of high-alert medications in acute care settings [online]. 2014 [cited Sep 30, 2016]. Available from: www.ismp .org/tools/highalertmedications.pdf

3. Saelao K. Overview of emergency medical operational standard, principle, criteria and protocols. Nonthaburi:National Institute of Emergency Medi- cine; 2014. p.1-2.

4.Institute of Hospital Quality Certification (Public Organization). Hospital and healthcare standard [online]. 2015 [cited Oct 25, 2016]. Available from: medinfo.psu.ac.th/nurse/NEW/QC/HA%20Standard_58_fn.pdf

5.National Health Security Office. Health service registration form for universal health care coverage system "Primary Care Unit": Guidelines for auditing for registration of primary care unit and health care units [online]. 2015 [cited Oct 25, 2016]. Available from: www.skko.moph.go.th/dward/document_file/d_kutbak/common_form_upload_file/20160713090544_40811988.pdf

6. Yamane T. Statistics: An introduction analysis. Tokyo: Haper International; 1973.

7. Kemppainen JK. Research critique.e In: Holzemer W, editor. Improving health through nursing research. Iowa: Wiley-Blackwell, 2010. p. 114-117.

8. Srisuphan W, Chanthai K. Work manual of registered nurse for sub-district health promoting hospital. Nonthaburi: Thailand Nursing and Midwifery Council; 2013. p. 30-63.

9. Emergency Medical Act B.E. 2551. Royal Gazette No. 125, Part 44A (Mar 6, 2008).

10. Thailand Nursing and Midwifery Council. Ministerial rule on professional conduct [online]. 2013 [cited Sep 16, 2018]. Available from: www.tnmc.or.th/ news /126

11. Veanseaw W, Chotklom P, editors. Standardization
and criteria for emergency medical systems Vol 1. Nonthaburi: National Institute of Emergency Medicine; 2010. p. 24-42.

12. Srithamrongsawat S, Aueasiriwon B, Bamrungkhet
W. Report on the review of international experiences on emergency medical services and lessons learned for Thailand [online]. 2013 [cited Sep 30, 2017]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/38 82?localeattribute=th

13. Ponsen K, Wachiradilok P, Sirisamutr T, Doungthip sirikul S, Kamnuan-lerk N. The situation and the factors affecting the use of emergency medical services at the emergency department of patient emergency in Thailand. [online]. 2016 [cited Apr 27, 2017]. Available from: www.niems.go.th/th/Upload/ File/255908171439332756_I7UNTXkvtBfQGYyL.pdf

14. Razzak JA, Kellermann AL. Emergency medical care in developing countries: is it worthwhile?. Bull World Health Organ. 2002; 80:e900–5.