Effect of Relief-angle at Straight portion of Rotary Blade on Torque Characteristic and Specific Tilling Energy

Main Article Content

Sirisak - Choedkiatphon

บทคัดย่อ

ใบมีดจอบหมุนต้นแบบที่ส่วนตรงมีมุมหลบ 1° (rotary blade B2) และ 3° (rotary blade B3) ถูกสร้างขึ้นเพื่อศึกษาผลเนื่องจากมุมหลบบริเวณส่วนตรงใบมีดจอบหมุนที่มีต่อลักษณะทอร์กและปริมาณพลังงานไถพรวนจำเพาะเพื่อลดกำลังที่ใช้ในการไถพรวนดินของอุปกรณ์ไถจอบหมุนโดยทดสอบเปรียบเทียบกับใบมีดจอบหมุนยุโรปรูปตัวซี (rotary blade B1) การทดลองทำในกระบะดินที่ห้องปฏิบัติการพลศาสตร์ทางดินและการประยุกต์ ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดสอบในดินเหนียวและดินร่วนปนทรายที่ความหนาแน่นมวลรวมสภาพแห้ง 1.67 และ 1.49 g cm-3 ตามลำดับ ความชื้นดิน 11.2% (db) ทดสอบที่ความเร็วการเดินทาง 0.069 และ 0.142 m s-1 ความเร็วรอบหมุน 150, 220 และ 280 rpm ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการไถพรวนดินด้วยใบมีดจอบหมุนที่ส่วนตรงมีมุมหลบ 1° และ 2° (B2 และ B3) ทอร์กมีลักษณะสอดคล้องกับลักษณะทอร์กของใบมีดจอบหมุนยุโรปรูปตัวซี (B1) และแสดงให้เห็นว่ามุมหลบที่ส่วนตรงของใบมีดจอบหมุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ใบมีดจอบหมุนใช้พลังงานไถพรวนจำเพาะลดลงในการไถพรวนดิน โดยพบว่าในกระบวนการไถพรวนดินใบมีดจอบหมุนที่ส่วนตรงมีมุมหลบ 1° (B2) ใช้พลังงานการไถพรวนจำเพาะน้อยที่สุด ขณะที่ใบมีดจอบหมุนยุโรปรูปตัวซี (B1) ใช้พลังงานการไถพรวนจำเพาะสูงสุด

Article Details

บท
Power and machinery