การออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ

Main Article Content

Paphawin Wongtar
Potchara Kaewjuntuek
Apiwit Phaefurn
Prysathyd Sarabhon
Kreetha Somkeattikul
Chootrakul Siripaiboon
Chinnathan Areeprasert
Thanya Kiattiwat

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติสำหรับปรุงก๋วยเตี๋ยวต้มยำซึ่งมีเครื่องปรุงหลายชนิดทั้งแบบที่เป็นของแข็งและของเหลว เพื่อความถูกต้องแม่นยำและเที่ยงตรงในการป้อนเครื่องปรุงแต่ละครั้ง กลไกจะทำงานด้วยระบบนิวเมติกส์ซึ่งควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติโดยใช้ PLC และสามารถสั่งการผ่านหน้าจอสัมผัส โดยแบ่งเครื่องปรุงเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดของแข็ง ได้แก่ กุ้งแห้ง น้ำตาล ถั่วลิสงป่น และพริกป่น ชนิดของเหลวได้แก่ น้ำปลา น้ำส้มสายชู และน้ำเชื่อม โดยในส่วนของการออกแบบจะมีใบกวนอยู่ภายในฮอปเปอร์บรรจุของแข็ง และเพิ่มความดันในคอนเทนเนอร์บรรจุของเหลว เพื่อให้ปริมาณของเครื่องปรุงทุกชนิดที่ป้อนออกมาเท่ากันทุกครั้งและนำไปทดสอบความแม่นยำและเที่ยงตรงในการป้อนเป็นจำนวน 20 ครั้งพบว่า ได้น้ำหนักเครื่องปรุงเฉลี่ย 53.51 กรัม หรือคลาดเคลื่อนเฉลี่ย +0.96% จากค่าที่ตั้งไว้ 53 กรัม โดยผลต่างสูงสุดเพียง 2 กรัม ซึ่งการป้อนเครื่องปรุงมีความแม่นยำเที่ยงตรง และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางรสชาติเมื่อรับประทาน

Article Details

บท
Post-harvest and food engineering

References

กิตติ เอกแสงสกุล. 2546. ออกแบบและสร้างเครื่องพ่นสีอัตโนมัติโดยใช้ PLC ควบคุมการทำงาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิระวุฒิ สัตนาโค และคณะ. 2546. เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ณัฐวิชช์ สุขสุง และ พรจิต ประทุมสุวรรณ. 2561. การควบคุมระบบเซอร์โวนิวเมติกส์ด้วยโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 12. 230 – 236. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
บุณย์ฤทธิ์ ประสาทแก้ว, ภาณุ ประทุมนพรัตน์ และ วิรชัย โรยนรินทร์. 2548. เครื่องปรุงส้มตำอัตโนมัติ. โครงการวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรวิชญ์ วรนาวิน. 2550. เครื่องกวนน้ำมะขามเปียก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Chanidapha P. และคณะ. (2560). Food Machining Center. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.