เครื่องวิเคราะห์ค่า CCS ของอ้อยแบบพกพาด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้

Main Article Content

รณฤทธิ์ ฤทธิรณ

บทคัดย่อ

อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งราคาการซื้อขายจะอาศัยค่า ซีซีเอส (Commercial Cane Sugar; CCS) เป็นตัวกำหนด การซื้อขายอ้อยด้วยระบบ CCS นั้น ยังเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และไม่สามารถทำการวัดค่า CCS ในไร่เพื่อทราบปริมาณน้ำตาลได้ในทันที ทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำการเก็บเกี่ยวอ้อยในระยะเวลาเหมาะสมเพื่อให้ค่า CCS สูงที่สุดได้ เทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ (Near Infrared) จึงเป็นเทคนิคที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพโดยไม่ทำลายตัวอย่าง ไม่ใช้สารเคมี ใช้งานง่าย และรวดเร็ว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการสร้างเครื่องวิเคราะห์ค่า CCS ของอ้อยแบบพกพาด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้ ในระบบการวัดแบบสะท้อนกลับ ที่ความยาวคลื่น 800–1200 นาโนเมตร และสร้างสมการเทียบมาตรฐานวิเคราะห์ค่า CCS ซึ่งเครื่องวิเคราะห์ที่สร้างมีจอแสดงผลเป็นแบบสัมผัส ใช้แหล่งพลังงานเป็นแบตเตอรี่ที่ความจุ 9800 มิลลิแอมแปร์ต่อชั่วโมง จากผลของการทดสอบเครื่องวิเคราะห์ พบว่าสามารถทำงานภาคสนามด้วยแบตเตอรี่ได้ต่อเนื่องกว่า 6 ชั่วโมง และสมการเทียบมาตรฐานวิเคราะห์ค่า CCS ที่สร้างมีค่าความผิดพลาดมาตรฐานในการทำนาย (SEP) เท่ากับ 1.97 เปอร์เซ็นต์ และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย (Bias) เท่ากับ 0.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเครื่องวิเคราะห์ที่สร้างวิเคราะห์ค่า CCS ได้ไม่แตกต่างกับค่าที่วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
Other

References

กาญจนา กิระศักดิ์, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, วีระพล พลรักดี และอัมราวรรณ ทิพยวัฒน์. 2558. การวัดค่าความหวานของอ้อยด้วยแสงย่านใกล้อินฟราเรด. วารสารวิชาการเกษตร, ปีที่ 33 ฉบับที่ 2. 159–168.
ยุรนันท บรรทัดจันทน, รณฤทธิ์ ฤทธิรณ, เวรุกา มานะวิจิตวนิช, สุรีพร ณรงควงศวัฒนา และศุทธหทัย โภชนากรณ. 2557. การคัดแยกความผิดปกติของเมล็ดขาวโพดโดยใชเทคนิค. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 45:3/1 (พิเศษ). 293–296.
รณฤทธิ์ ฤทธิรณ. 2560. การสร้างระบบ Near Infrared Spectroscopy ตามมาตรฐานสากล. ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์.
รณฤทธิ์ ฤทธิรณ, พรทิพา เจือกโวน, กรกนก ตั้งกาญจนานุกุล, ธนาพร ลิขิตธีรทรัพย, ปาริชาติ ชางชุบ และศุทธหทัย โภชนากรณ. 2556. การประเมินปริมาณน้ำมันในทะลาย ปาลมดวยเทคนิคอินฟราเรดยานใกล. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 44:3 (พิเศษ). 434–437.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. รายละเอียดสถานการณ์ผลิตและการตลาด. ออนไลน์. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th. เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2561.
Nawi, N.M., Kamal, M.R., Chen, G. and Jensen, T. 2014. Prediction of Sugarcane Quality Parameters Using Visibleshortwave Near Infrared Spectroradiometer. Agriculture and Agricultural Science Procedia 2. 136–143.
Osborne, B.G., T. Fearn, and P.H. Hindle. 1993. Practical NIR spectroscopy: with application in food and beverage analysis. Singapore: Longman Singapore Publishers (Pte) Ltd. (2nd ed.). 29–33.
Ronnarit Rittiron and Worapa Seehalak. 2014. Moisture Content in Raw Rubber Sheet Analyzed by Transflectance Near Infrared Spectroscopy. Journal of Innovative Optical Health Sciences, 7 (4), 1350068-1-1350068-6. ISSN: 17935458
Sureeporn Narongwongwattana, Ronnarit Rittiron and Chin Hock Lim. 2015. Rapid determination of alkalinity (ammonia content) in Para rubber latex using portable and Fourier transform-near infrared spectrometer. Journal of Near Infrared Spectroscopy, 23 (3), 181-185.