การศึกษาศักยภาพของฟางข้าวในการกำจัดโซเดียมคลอไรด์ในน้ำเสียสังเคราะห์

Main Article Content

Prasan Choomjaihan

บทคัดย่อ

การปนเปื้อนของน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของสาละลายเกลือลงสู่สิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัสดุดูดซับชีวภาพจากฟางข้าวในการกำจัด NaCl ออกจากสารละลาย และหาศักยภาพการกำจัด NaCl และหาสัดส่วนเถ้าโดยใช้ฟางข้าวที่ไม่ผ่านการปรับสภาพและฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ที่ความเข้มข้นของสารละลาย 20 และ 35g/l ทำการศึกษาอุณหภูมิสารละลายแตกต่างกัน 3 ระดับได้แก่ ที่อุณหภูมิห้อง, ที่อุณหภูมิคงที่ 90°C และ ที่อุณหภูมิลดลงจาก 90°Cสัดส่วนวัสดุดูดซับต่อปริมาตรของสารละลาย 0.01, 0.03 และ 0.05 g/ml และที่ระยะเวลาในการดูดซับตั้งแต่ 0 ถึง 150 min จากการทดลองพบว่าศักยภาพการกำจัดเกลือของฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพด้วย NaOH ดีกว่าฟางข้าวที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพ และที่สภาวะอุณหภูมิคงที่ 90°C มีศักยภาพในการกำจัด NaCl ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ ที่สภาวะอุณหภูมิลดลงจาก 90°C และที่ อุณหภูมิห้องมีศักยภาพการกำจัด NaCl ต่ำที่สุด การกำจัด NaCl ด้วยอุณหภูมิสารละลายคงที่ 90°C และแบบอุณหภูมิสารละลายแบบลดลงจาก 90°C สามารถกำจัด NaCl ได้อย่างรวดเร็วในช่วงแรก และเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่า 60 และ 100 min ตามลำดับ จากการทดลองทำให้เห็นมิติใหม่ของการใช้ฟางข้าว และวิธีการในการจัดการสารละลาย NaCl ได้ในอนาคต

Article Details

บท
Energy and environment

References

จรรยาลักษณ์ ปาปะโพธิ์ และอุรา ทิพราช. (2549). ประสิทธิภาพของแกลบเผาและกะลามะพร้าวเผาในการดูดซับโลหะหนักน้ำย้อมสีเสื่อกกบ้านแพง จ.มหาสารคาม.วิทยาศาสตร์บัณฑิต.สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

นพวรรณ ขจรกีรติกุล, ปาริชาต บรรลิขิต และวรรณวรางค์ ชูประเสริฐ. (2548). การดูดซับโลหะตะกั่วโดยใช้ฟางข้าว.ปริญญาวิศวกรรมศาตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี,กรุงเทพฯ

สกาว พงษ์ขวัญ. (2558). การวิเคราะห์ปริมาณเกลือของปลาซาร์ดีนในน้ำเกลือในอุตสาหกรรมผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องด้วยเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี.ปริญญาวิศวกรรมศาตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ

สุพรรษา มีถาวร. (2556). การศึกษาความสามารถในการดูดซับสีของฟางข้าวในระหว่างการย้อมผ้า.ปริญญาวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ

ธิดาพร ฤทธิศร์, เบญจวรรณ จิตรพวน, แสงสุรีย์ ศรีสะอาด. (2556). การดูดซับทองแดงโดยใช้ขี้เลื่อยยูคาลิปตัสปรับปรุงด้วยโซเดยมไฮดรอกไซด์และแคลเซียมคลอไรด์. ปริญญาวิทยาศาตรบัณฑิต. สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ

อัญชลี นันดี. (2558). ประสิทธิภาพการดูดซับทองแดงและนิกเกิลไอออนในน้ำเสีย โดยใช้เปลือกส้มและชานอ้อยที่ปรับปรุงคุณภาพด้วย NaOH และ CaCl2. ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารกระบัง, กรุงเทพฯ

Ayse Toson, et al. (2012). Adsorption of Cadmium from Aqueous Solutions onto Coffee Grounds and Wheat Straw: Equilibrium and Kinetic Study, Gazi university Journal of science. 25, 783-791

Bo Zhu., Tongxiang Fan., Di Zhang .(2007). Adsorption of copper ions from aqueous solution by citric acid modified soybean straw, Journal of Hazardous Materials .153, 300–308

D.I. Hills, D.W. Roberts.(1981). Anaerobic digestion of dairy manure and field crop residues, Journal of Agricultural Wastes. 3, 179-189

Nader Yousefi, et al. (2011) Adsorption of Reactive Black 5 Dye onto Modified Wheat Straw : Isotherm and Kinetics Study. Sacha Journal of Environmental Studies.1 , 81-91.

N. Nasuha., B.H. Hameed, Azam T., Mohd Din. (2010). Rejected tea as a potential low-cost adsorbent for the removal of methylene blue, Journal of Hazardous Materials. 175, 126–132

Nasehir Khan E M Yahaya, et al. (2011). Adsorptive Removal of Cu (II) Using Activated Carbon Prepared From Rice Husk by ZnCl2 Activation and Subsequent Gasification with CO2, International Journal of Engineering & Technology IJET-IJENS . 11, 164-168

Renmin Gong., et al. (2005) Removal of cationic dyes from aqueous solution by adsorption on peanut hull, Journal of Hazardous Materials.121, 247–250

Sagnik C., Shamik C., and Papita D. S., (2011). Adsorption of crystal violet from aqueous solution onto NaOH-modified rice husk. Journal of Carbohydrate polymer. 86, 1533-1541

Tarley C. R. T., Arruda M. A. Z., (2004). Biosorption of heavy metals using rice milling by-products Characterisation and application for removal of metals from aqueous effluents, Journal of Chemosphere. 54, 987-995

Yang Ding., et al. (2012) Biosorption of aquatic cadmium(II) by unmodified rice straw, Bioresource Technology . 114, 20–25

Xiao Wang., et al. (2001). Studies on Adsorption of Uranium (VI) from Aqueous Solution by Wheat Straw, Environmental Progress & Sustainable Energy. 31, 566-577

Yiping Guo, Weiyong Zhu, Guoting Li, Xiaomin Wang, and Lingfeng Zhu (2016). Effect of Alkali Treatment of Wheat Straw on Adsorption of Cu (II) under Acidic Condition, Journal of Chemistry. 2016, 1-10