การศึกษาและออกแบบอุปกรณ์วัดความกรอบมะละกออัตโนมัติ

Main Article Content

อาทิตย์ พวงสมบัติ
อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล
จิรพงษ์ กสิกัลปพฤกษ์
แพรพลอย จันอินทร์

บทคัดย่อ

อุปกรณ์วัดความกรอบมะละกออัตโนมัติถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบความกรอบของพันธุ์มะละกอที่เหมาะสมสำหรับการนำไปทำส้มตำ อุปกรณ์ประกอบด้วย กลไกหักแท่งมะละกอมีลักษณะเป็นก้านสองอันปลายยึดติดกันเป็นจุดหมุน สเต็บมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนกลไกหักแท่งมะละกอ ระบบตรวจสอบการหักของแท่งมะละกอใช้หลอดกำเนิดแสงและเซ็นเซอร์ตรวจวัดความเข้มแสงที่เป็นตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าตามความเข้มแสง (light dependent resistor, LDR) และไมโครคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่ควบคุมกลไกหักแท่งมะละกอและคำนวณมุมของก้านกลไกหักแท่งมะละกอ ทำการทดสอบกับแท่งมะละกอที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร โดยนำแท่งมะละกอวางบนก้านของกลไกหักแท่งมะละกอ แล้วอุปกรณ์จะหมุนก้านหนึ่งของกลไกหักแท่งมะละกอจนแท่งมะละกอหักแล้วจึงหมุนกลับมาอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้น เมื่อแท่งมะละกอหักจะเกิดช่องว่างทำให้แสงสามารถส่องผ่านไปยังเซ็นเซอร์ทำให้ความต้านทานต่ำลง โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจวัดความต่างศักย์คร่อมตัวต้านทาน  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ที่เกิดจากการหักของแท่งมะละกอโปรแกรมจะสั่งให้มอเตอร์หยุดหมุนและคำนวณมุมการหมุนเป็นดัชนีความกรอบของมะละกอ โดยมุมในการหักสูงจะหมายถึงมะละกอมีความกรอบต่ำ จากผลการทดสอบพบว่าอุปกรณ์สามารถแสดงความกรอบมะละกอได้ตรงกับการตรวจวัดด้วยมือและสัมพันธ์กับค่างานที่ใช้ในการเฉือน (correlation coefficient เท่ากับ 0.56

Article Details

บท
Post-harvest and food engineering

References

1. ธิราพร จุลยุเสน. (2559). การวิเคราะห์เนื้อสัมผัส. แหล่งที่มา: http://eng.sut.ac.th/ae/ae2016/src/file/SubjectDocument/file/Lab%203%20Texture%20Analyzer%20(2559%20theory)_1474471403.pdf, 15 สิงหาคม 2560.
2. รภัสสา จันทาศรี, สุนทร โชคสวัสดิ์ธนะกิจ และ วิวัฒน์ ไชยบุญ. (2560). การคัดเลือกมะละกอพันธุ์อาร์เอ็มยูเพื่อการ บริโภคผลดิบและความทนทานต่อ โรคไวรัสใบจุดวงแหวนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม.วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35 (1): 146 -156.
3. ศันสนีย์ นาเจริญ กรียงศักดิ์ ไทยพงษ ปาริชาติ เบิร์นส อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล และ สุกัญญา วิชชุกิจ (2558). แนวทางการประเมินความกรอบของมะละกอดิบโดยใช้การทดสอบทางกล.วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแหงประเทศไทย 21 (2): 42-49.
4. Alam, Md.S., Kaur, B., Gupta, K., Kumar, S. (2013). Studies on refrigerated storage of minimally processed papaya (Carica papaya L.). Agricultural Engineering International: CIGR Journal 15, 275-280.
5. Chareekhot, K., Techavuthiporn, C., Wongs-Aree, C., Boonyarit-Thongchai, P., Kanlayanarat, S. (2014). Assessment of three green papaya (Carica papaya Linn.) cultivars (‘Krang’, Kaek Noul’, and ‘Kaek Dum’) for use as shredded fruit. Journal of Horticultural science & Biotechnology 89, 321-328.
6. Terdwongworakul, A., Burns, P., Wichchukit, S., Thaipong, K., Nacharoen, S. (2016). Classification of papaya crispiness based on mechanical properties Agricultural Engineering International. CIGR Journal, 18 (1), 294-300.