ภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชน

Main Article Content

อรวี บุญนาค
เก๋ แดงสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวล วิเคราะห์และตั้งข้อสังเกตการใช้ภาษาไทยถิ่นที่ปรากฏผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้แก่ ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ สื่อโฆษณา และสื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสื่อมวลชนในการอนุรักษ์ภาษาไทยถิ่น อีกทั้งแสดงว่าภาษาไทยถิ่นอยู่ในสถานะใดในสื่อมวลชน สื่อมวลชนได้เลือกใช้ภาษาไทยถิ่นเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในรูปแบบใดบ้าง และมีส่วนสำคัญในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นอย่างไร


จากการศึกษาพบว่า สื่อมวลชนมีวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาไทยถิ่นด้วยกัน ๖ ประการ คือ เพื่อการตลาด เพื่อสร้างความสมจริงของการนำเสนอสาร เพื่อเป็นจุดขายหรือสร้างความโดดเด่นในการนำเสนอสารของสื่อมวลชน เพื่อสร้างความสนุกหรือตลกขบขัน เพื่อสะท้อนความหมายแฝงในการตีความแนวคิดหลัก ในการนำเสนอสาร และเพื่อการอนุรักษ์ภาษาไทยถิ่นให้คงอยู่คู่กับสังคมไทย 


เมื่อพิจารณาในประเด็นภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นและการสร้างอัตลักษณ์ พบว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญต่อการนำเสนอภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นไปพร้อมกับการสร้างอัตลักษณ์ของคนในท้องถิ่นผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นนั้นๆ เห็นการผลิตซ้ำวาทกรรมชุดเก่า ในลักษณะการกดทับภาษาไทยถิ่นและผู้ใช้ภาษาไทยถิ่น สังเกตได้จากเนื้อหาสารที่นำเสนอผ่านภาษาไทยถิ่น เช่น การสร้างความตลกขบขันจากความแปลกแยกแตกต่าง และ การประเมินค่าภาษาไทยถิ่นว่ามีศักดิ์ศรีน้อยกว่าภาษาไทยมาตรฐาน ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของภาษาไทยถิ่นและผู้ใช้ในด้านต่างๆ ทั้งความแปลกแยก ความเป็นที่น่าขบขัน ไม่น่าภาคภูมิใจ และความด้อยค่า


แต่อีกนัยหนึ่งภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชนก็มิได้ปรากฏเพียงแต่ภาพด้านลบเท่านั้น บ่อยครั้งที่สื่อพยายามสร้างวาทกรรมชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับและการเชิดชูภาษาไทยถิ่น ผ่านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอแนวทางการใช้ภาษาไทยถิ่นที่ถูกต้อง การนำเสนอความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยถิ่น รวมไปถึงการใช้บุคคลผู้มีชื่อเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการบันเทิงเป็นต้นแบบการใช้ภาษาไทยถิ่นให้กลุ่มคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและหันมาใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดเขิน และไม่ดูถูกภาษาไทยถิ่นของตนเอง อาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเชิดชูวัฒนธรรมทางภาษา โดยเฉพาะภาษาไทยถิ่นให้ยังคงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป

Article Details

How to Cite
บุญนาค อ., & แดงสกุล เ. (2016). ภาพสะท้อนภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชน. วรรณวิทัศน์, 16, 161–191. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2016.7
บท
บทความประจำฉบับ

References

กุลภา วจนะสาระ. (2555). มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ. ใน กุลภา วจนะสา และกฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย (น. 17-36). กรุงเทพฯ: ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธัญญา จันทร์ตรง. (2548). “โฆษณาประชาสัมพันธ์ความแตกต่าง . . . สู่ความลงตัว”. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 1: 2, 7-12.

เธียรชัย อิศรเดช. (2555). “ภาษาไทยถิ่นในสื่อมวลชน”. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 16: 1, 9-22.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2547). มองภาษา. กรุงเทพฯ: แม่คําผาง.

ราตรี ธันวารชร. (2549). “ภาษาถิ่น: วิธีเรียนรู้และรักษา”. วารสารวรรณวิทัศน์, 7, 217-230.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blistein, Elmer M. (1985). Theories of Humor. Encyclopedia Americana. Vol.14 (pp. 563-564). Connecticut: Danbury.

Happer, C., & Philo, G. (2013). The role of the media in the construction of public belief and social change. Journal of Social and Political Psychology, 1: 1, 321-336.

ครั้งแรกของประเทศ! กับ โฆษณาที่พากย์ตามภาษาท้องถิ่น. (31 ตุลาคม 2558). แคมเปญสนุกจาก “ธนชาต ประกันภัย”. สืบค้นจาก http://catmint.in.th/thanachart-insurance-4/

“คิมเบอร์ลี่” ควง “หมาก” เที่่ยววันหยุด โพสต์ภาพอวดหุ่นแซ่บ. (25 ตุลาคม 2558). ข่าวสดออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid =1445756022

จักรพงษ์ คําบุญเรือง. (19 กันยายน 2558). “ตานก๋วยสลาก” เมืองลําาพูน. เชียงใหม่นิวส์. สืบค้นจาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/422251

เจ๋งครูใช้ภาษาท้องถิ่น ปั๊มตรายางให้คะแนนเด็ก. (1 มิถุนายน 2559). เดลินิวส์. สืบค้นจาก http://www.dailynews.co.th/regional/400997

ชื่นชมคุณแต้ว ณฐพร ในการเว่าอีสาน ในคุณชายรัชชานนท์. (26 พฤษภาคม 2556). พันทิบ. สืบค้นจาก http://pantip.com/topic/30531508

‘แต้ว’ ปลื้มคนชมพูดอีสานเนียนใน ‘คุณชายรัชชานนท์’, (7 มิถุนายน 2556). ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/349752

ม่วนหลาย! เมเจอร์เอาจริง ฉาย “Now You See Me 2” พากย์เสียงอีสาน เฉพาะภาคอีสาน. (8 มิถุนายน 2559). ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1465370465

สันต์ สะตอแมน. (29 ตุลาคม 2558). เสน่ห์ภาษาถิ่น ในคอลัมน์วิสามัญบันเทิง. สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/tpd/1712972

หนุ่มอังกฤษอารมณ์เสียอย่างแรง แจ้งจับแมวฐานขโมยกินเบคอน!. (2 สิงหาคม 2558). แนวหน้า. สืบค้นจาก http://www.naewna.com/inter/171748

ห่วงภาษาถิ่นใต้ใกล้ตายแล้ว. (16 ธันวาคม 2557). เดลินิวส์. สืบค้นจาก http://www.dailynews.co.th/education/287948

แอร์เอเชียทําาเซอร์ไพรส์ ส่ง “ณเดชน์” เป็นสจ๊วต โปรโมทเที่ยวบินขอนแก่น. (19 กันยายน 2557). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews. aspx?NewsID=9570000108055