การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Main Article Content

ปารมี ศรีบุญทิพย์
นฤมล พระใหญ่
อัจศรา ประเสริฐสิน
เติมศักดิ์ คทวณิช

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 569 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถาม มีค่า IOC = 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.869 และค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.34 – 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

 

                  ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบของการคิดเชิงระบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 คือ การคิดแบบองค์รวม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.96 องค์ประกอบที่ 2 คือ การคิดแบบวัฏจักรเชื่อมโยง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.85 และองค์ประกอบที่ 3 คือ การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.89 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดการคิดเชิงระบบ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 =0.76, df=2, p=0.68, GFI=1.00, AGFI=1.00, CFI=1.00,RMSEA=0.00, SRMR=0.00) แสดงว่าโมเดลการวัดการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่สร้างขึ้นสามารถนำมาอธิบายการคิดเชิงระบบได้และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

 

             The objective of this study were to analyze the confirmatory factors of Systems Thinking and test the consistency of the measurement model with the empirical data of Mathayom Suksa 1 students at public university demonstration schools under the Office of Higher Education Commission. The sample was 569 students at public university demonstration schools at under the Office of Higher Education Commission by randomly the sampling group used three stage selections. The data collection was collected by their answers from the Systems Thinking Tests. The content validity of the tests with the IOC =0.80 to 1.00, the reliability of 0.869 and discriminating powers ranging between 0.34 to 0.92. The statistics used to analyze data comprising of  mean,  percentage, standard deviation, and  confirmatory factor analysis.

            The finding of confirmatory factor analysis of Systems Thinking revealed 3 factors consisting of Factor 1 - holistic thinking factor loadings of 0.96, Factor 2 - cycle thinking factor loadings of 0.85 and Factor 3 - creative problem solving thinking factor loadings of 0.89. All of the factors are statistically significant at 0.05 and examined in the consistency of the measurement model and confirmatory factor analysis. The result from confirmatory factor analysis of the measurement model in Systems Thinking of Mathayom Suksa 1 Students at public university demonstration schools under the Office of Higher Education Commission showed the consistency with the empirical data  (c2 =0.76, df=2, p=0.68, GFI=1.00, AGFI=1.00, CFI=1.00, RMSEA=0.00, SRMR=0.00) This proves that the measurement model explains Systems Thinking of Mathayom Suksa 1 students at public university demonstration schools under the Office of Higher Education Commission was consistent with the empirical data.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ