การกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

วิภวานี เผือกบัวขาว
ประสารโชค ธุวะนุติ
ชนัด เผ่าพันธ์ดี

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เสนอรูปแบบที่เหมาะสมต่อการกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและ ภาคประชาชน จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน 

             ผลการวิจัยพบว่า

               1.   การกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร และด้านความร่วมมือทางด้านการค้า ตามลำดับ

               2.   ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ ด้านการประกาศเป็นนโยบาย (X3) ด้านการจัดทำข้อเสนอนโยบาย (X2) และด้านการระบุปัญหา (X1) มีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 67.70 ได้สมการพยากรณ์ดังนี้  = 2.076 + 0.356(X3) + 0.095(X2) + 0.072(X1)

               3.  รูปแบบที่เหมาะสมต่อการกำหนดนโยบายส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือ P-SET Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

                    ขั้นตอนที่ 1 P = Political หมายถึง ด้านการเมือง ทั้งสองประเทศควรมีการวางแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้าและการลงทุนรวมกันเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการพัฒนาร่วมกัน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนารัฐประเทศในแบบแผนเป็นแนวเดียวกัน

                    ขั้นตอนที่ 2 S = Social ด้านสังคม ทั้งสองประเทศควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี มีการศึกษา อบรมและเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละประเทศ

                    ขั้นตอนที่ 3 E = Economic ด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองประเทศควรคำนึงถึงการส่งเสริม การผลิตสินค้าและการบริการ โดยมีการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาช่วยในการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เป็นแบบ One Stop Service

                    ขั้นตอนที่ 4 T = Technology ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งสองประเทศควรมีการพัฒนาโครงข่ายการค้าและการลงทุน เช่น เชื่อมต่อฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นระบบ สอดคล้องกับ                   ความต้องการลงทุนและข้อมูลข่าวสารของทั้งสองประเทศ ตลอดจนควรนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเลือกซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

              The objectives of this research were to: 1) study condition and problems on policy formulation for enhancing trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province, 2) study factors affecting policy formulation for enhancing trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province, and 3) propose the proper model for Policy Formulation for Enhancing Trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province. The study was done by using qualitative and quantitative research approaches. For qualitative study, the in-depth interview was used for collecting data from 20 key informants consisting of administrators in public, private, and civic organizations. The content analysis was used for qualitative data analysis, whereas the questionnaire was used for collecting quantitative data from 400 people in Prachuap Khiri Khan Province. The quantitative data were analyzed by using mean, standard deviation, and stepwise regression analysis.    

               The research results were as follows:

                    1. The policy formulation for enhancing trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province  was overall at a high level When the aspects of policy were individually considered, they coud be ranked in descending order of their means as follows: infrastructure, management, personnel, and trade cooperation.

                    2. The factors affecting determination of policy formulation for enhancing trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province  consisted of notification of policy (X3), preparation of policy proposal (X2), and problem identification (X1), with predictive efficiency at 67.70%ม and the predictive equation was as follows:  = 2.076 + 0.356(X3) + 0.095(X2) + 0.072(X1).

                    3. The proper model, P-SET, for policy formulation for enhancing trade along Thailand - Myanmar Border of Prachuap Khiri Khan Province consisted of 4 components as follows:

                    Component 1: P = Politics referred to political aspect. Two countries should cooperate in preparing the strategic plan on trade and investment promotion for determining development policy and measures in order to provide the countries the conforming approaches for development.

                    Component 2: S = Social referred to social aspect. Two countries should cooperate in organizing activities for creating good relationship by organizing education, training, and learning on way of life, culture, history, and natural resources of each country.

                    Component 3: E = Economic referred to economic aspect. Two countries should consider the promotion, the production of goods, and service provision by employing efficient technology in production and reducing impacts on environment, including reduction of operational procedure by using One-Stop-Service pattern.

                    Component 4: T = Technology referred to information technology aspect. Two countries should develop trade and investment network such as systematic connection of electronic data base conforming to investment needs and information of both countries, including application of technology of internet and electronic commerce for people to buy goods.   

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ