การพัฒนาวีดิทัศน์การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การสอนการบวกและการลบจำนวนจริง สำหรับนักศึกษาในรายวิชา การสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

Main Article Content

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง ในรายวิชา การสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้ศึกษาจากการใช้สื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ วีดิทัศน์การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การสอนการบวกและการลบจำนวนจริง, แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์, แบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับบทเรียนวีดิทัศน์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในรายวิชา การสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา  ภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา และการหาค่า t-test แบบ Dependent

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. วีดิทัศน์ประกอบด้วย คำนำ การแจ้งจุดประสงค์ ข้อความบอกกล่าวถึงขั้นตอนการสอน พิธีกรกล่าวคำอธิบายหลักการที่ใช้ ตัวอย่างการสาธิตกิจกรรม

             2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้ศึกษาจากการใช้สื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์การสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนจริง โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.48)

            4. นักศึกษามีความกระตือรือร้นเข้าชั้นเรียนตรงตามเวลา มีสมาธิจดจ่อกับวีดิทัศน์ ฟังอย่างตั้งใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ เมื่อเกิดความเข้าใจจะแสดงออกทางสีหน้า แววตา ยิ้มและพยักหน้า วิเคราะห์การสอนได้อย่างมีเหตุผล จดบันทึกข้อมูลต่างๆ จากการชมวีดิทัศน์ เมื่อมีข้อสงสัยจะไต่ถามอาจารย์ในภายหลัง และอธิบายถึงประโยชน์ที่ได้รับจากวีดิทัศน์ได้อย่างถูกต้อง

 

           The research of A Development of Mathematics Teaching and Learning Videos on “Addition and Subtraction of Real Numbers” for Course Mathematics Teaching in Elementary Education is an experimental research.

             The purposes of this research were 1) to develop Mathematics teaching and learning videos on “Addition and Subtraction of Real Numbers” for Course Mathematics Teaching in Elementary Education under the elementary education curriculum, Faculty of Education, Silpakorn University, 2) to compare the students’ learning achievement before and after the experiments by using Mathematics teaching and learning videos on ”Addition and Subtraction of Real Numbers” 3) to study the students’ satisfaction towards Mathematics teaching and learning videos on “Addition and Subtraction of Real Numbers” and  4) to investigate the students’ learning behaviors by using Mathematics teaching and learning videos on “Addition and Subtraction of Real Numbers”. Four instruments were used for collecting data. These instruments include  Mathematics teaching and learning videos on “Addition and Subtraction of Real Numbers”, the achievement tests to investigate the Mathematics teaching and learning theories of the students, the students’ satisfaction check–lists and student’s learning behavior observatory form. The samples were 17 elementary major undergraduate students who studied Course Teaching of Mathematics in Elementary Education course in the second semester of academic year 2016. The samples were selected by purposive sampling.  The statistic employed for data analysis were percentage, mean (), standard deviation (S.D.), content analysis and t-test dependent samples

    The results showed that

 

             1. Mathematics teaching and learning videos consisted of Preface, Objectives, Teaching procedure, Description of the teaching principles by presenters, and Demonstration demo examples.

             2. The students’ learning achievement progress after using the videos was significantly increased at the .01 level

             3. The students’ satisfaction average towards the videos was totally high(Mean = 4.48)

             4. The students were enthusiastic to attend the class in time. They concentrated and participated in the class learning activities. They showed that they understood the lessons by smiling and tilt the head. They were able to analyze on the teaching process. They took short notes and asked the teacher some questions which they didn’t understand. They were able to describe the benefits of the videos correctly. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ