การสำรวจตลาดเพื่อทราบปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวง

Main Article Content

วีณา แซ่บ่าง
ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้บริโภค พฤติกรรมการบริโภค คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของโครงการหลวง และผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าระดับพรีเมี่ยม ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 678 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ (Multiple Regression Analysis) และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (Level of Significance) ที่ระดับ 0.05

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวงแตกต่างกัน ส่วนลักษณะของผู้บริโภค ได้แก่ รายได้ (บาท/เดือน) และคำถามที่ว่าผู้บริโภคเคยซื้อสลัดถาดพร้อมทานหรือไม่ ต่างกันมีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวงไม่แตกต่างกัน 2) พฤติกรรมการบริโภคสลัดถาดพร้อมทานไม่มีความสัมพันธ์กับการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวง 3) คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวง 4) ปัจจัยทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ได้แก่  ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา       ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ “สลัดถาดพร้อมทาน” ของโครงการหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

            This research aims to study the Characteristics of the Consumers, Consumer Behavior, Product Features and Marketing Mix that has resulted to the creation of value-added products "Ready to Eat Salad Tray" of Royal Project Foundation. The sample used in this research is consumers are customers of the Royal Project Foundation and consumers who are Premium Customer, in Bangkok. Totally 678 peoples with Non-probability Sampling and questionnaires were used to collect data.  The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, multiple regression analysis and level of significance 0.05

                The results showed that: 1) Nature of the consumer, including gender, age, education and occupation are different have resulted to the creation of value-added products "Ready to eat salad tray" of Royal Project Foundation. The nature of consumer income (baht/month) and have purchased a salad tray, or not? are not different have resulted to the creation of value-added products "Ready to eat salad tray" of Royal Project Foundation. 2) Consumer behaviors with no relationship to the creation of value-added products. "Ready to eat salad tray" of Royal Project Foundation. 3) Product features are in relation to the creation of value-added products "Ready to eat salad tray" of Royal Project Foundation. 4) Marketing factors of "Ready to eat salad tray" are product, pricing, distribution channels including marketing promotion are associated with the creation of value-added products “Ready to eat salad tray” of Royal Project Foundation.  Statistically significant at the 0.05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ