การพัฒนากระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผล ระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ

Main Article Content

กฤษฎา พรหมอินทร์
สวนีย์ เสริมสุข
เกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินงานนิเทศระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ และ 2) พัฒนาและทดลองใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ มีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินงานนิเทศระบบการประกันคุณภาพภายใน ใช้วิธีการสอบถามบุคลากรที่เป็นผู้นิเทศภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานและหัวหน้างานการประกันคุณภาพภายใน รวมจำนวน 56 คน (2) ขั้นพัฒนาและทดลองใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยนำกระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เอกสารประกอบการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ แบบวัดประสิทธิผลระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าความถี่ (Frequency) ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Conten analysis) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 - เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพในการดำเนินงานนิเทศระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ โดยรวมสภาพการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติตามองค์ประกอบในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ 

หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ในทุกองค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก (=4.20) และในส่วนของปัญหาพบว่า ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (=4.30) โดยค่าเฉลี่ยด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ การจัด ทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน (= 4.41) ให้มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการนำไปเผยแพร่ รองลงมาคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา (=4.38) ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้ กับผู้เรียน และการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ (= 4.36) ที่เอื้อต่อการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 2) กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลระบบการประกันคุณภาพภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ พบว่า ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกัน ขั้นที่ 2 การร่วมกันวางแผนกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ขั้นที่ 3 การจัดการความรู้ในการดำเนินงานร่วมกัน ขั้นที่ 4 การร่วมกันสร้างบรรยากาศในการดำเนินงานนิเทศตามแผน และขั้นที่ 5 การร่วมกันสะท้อนผลการดำเนิน และจากการทดลองใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ พบว่าโดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างการทดลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลระบบการประกันคุณภาพภายใน มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้ใช้กระบวนการนิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ ด้านการใช้ประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก

 

           The purposes of this research were to 1) study the conditions and problems in supervision for internal quality assurance system in Special Educational Center, and 2) develop and try out the empowerment supervision process to enhance effectiveness for internal quality assurance system in Special Educational Center. Two steps in this research were as follows: (1) study the conditions and problems in supervision for internal quality assurance system interviewed 56 personnel who are the internal supervisor from 8 lower northern of Special Educational Centers; administrators, head of internal quality assurance, and (2) develop and try out the empowerment supervision process to enhance effectiveness for internal quality assurance system in Special Educational Center, tried out the empowerment supervision process with purposive sample; personnel from lower northern of Special Educational Centers, in academic year 2016 at Uttaradit Special Educational Center. Research tools used were questionnaire, the supplementary document of empowerment supervision process, the effectiveness measurement for internal quality assurance system and opinions evaluation form for the users of the empowerment supervision process. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, frequency, median, interquartile range and content analysis. Research conducted during September 2016 to April 2017. The result found that 1) the condition in supervision for internal quality assurance system in Special Educational Center had the overall working performance by the rules and regulations as the factors in developing education institution internal quality assurance system according to ministerial regulations on the system of criteria and methods for quality assurance in B.E. 2553, all factors were at high level (=4.20), the problems in performance found at high level (=4.30), the most average problems were in doing SAR annual report to get quality and suitable to be publicized (=4.41), followed by doing education institution development plan aimed at quality to the education institution standard to develop potential and better quality of life for the learners (=4.38), and information management that supported internal quality assurance system for education institution (=4.36), and 2) the supervision for internal quality assurance system in Special Educational Center revealed 5 steps as follows: first, collaborative understanding communication, second, collaborative targets planning and operation guidelines, third, collaborative knowledge management in operation,

           fourth, collaborative atmosphere in supervision to setting plan and fifth, collaborative operation reflection, and by trying out the empowerment supervision process showed the whole of the sample had the mean opinions on the process of each activity at high to the highest level, an average scores of effectiveness for internal quality assurance system were found significantly different at 0.05, and the mean opinions for the users of empowerment supervision process on the utility, possibility, suitability and validity were at high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ