คุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อุษณีย์ บุญเมือง
เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ
ชูเกียรติ เพียรชนะ

Abstract

           เป้าหมายของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน คือ ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวะเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากการดูแลรักษาเบาหวานในโรงพยาบาลแล้ว ยังมีการดูแลรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)อีกด้วย ซึ่งยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานใน รพ.สต. เครือข่ายบริการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยเบาหวานใน รพ.สต. เก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่รับบริการที่ รพ.สต. ย้อนหลังตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2558 ข้อมูลบันทึกไว้ในโปรแกรม Java Health Center Information System (JHCIS) ของแต่ละ รพ.สต ร่วมกับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี และฐานข้อมูลออนไลน์ Health Data Center (HDC) รวมถึงสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานพัฒนาจากแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานของประเทศไทย พ.ศ. 2557 และตัวชี้วัดด้านยาที่ควรใช้ รวมทั้งสิ้น 33 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น ตัวชี้วัดกระบวนการรวมไปถึงยาที่ใช้ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

              ผลการศึกษาพบว่า จาก 23 รพ.สต. มี 10 รพ.สต. ที่มีแพทย์จากโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรีไปให้บริการตรวจรักษา จากฐานข้อมูล JHCIS มีผู้ป่วยเบาหวานรวม 1,334 คน คุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่รพ.สต. เมื่อประเมินตามตัวชี้วัด พบว่าจาก 33 ตัวชี้วัด ในภาพรวมผ่านเกณฑ์เพียง 6 ตัวชี้วัด (ตัวชี้วัดกระบวนการ 1 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5 ตัวชี้วัด) ไม่ผ่านเกณฑ์ 21 ตัวชี้วัด และอีก 6 ตัวชี้วัดประเมินไม่ได้เพราะไม่มีข้อมูลหรือไม่มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานไว้ ในส่วน 6 ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ คือ อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่ อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้าหรือขา อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น diabetic nephropathy อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี myocardial infarction และอัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี cerebral infarction ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในรพ.สต. จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการจัดระบบบริการ ระบบการบันทึกและการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานใน รพ.สต. มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น  

 

          Goals of diabetes care are providing suitable and continuing of cares for diabetes patients to decrease risk or prevent complications of diabetes by seamless care between hospitals and Tambon Health Promotion Hospitals. The study in quality of care for diabetes patients in Tambon Health Promotion Hospital of Phrachomklao Hospital Services Network is not yet performed. The objective of this research was to assess quality of diabetes care. Patients’ data between October 1, 2014 and September 30, 2015, were investigated. Sources of data were Java Health Center Information System (JHCIS) program, computerized database of Phrachomklao Hospital, Health Data Center (HDC) online database and asking more information from health related staffs. Quality indicators were mainly from Clinical Practice Guideline for Diabetes 2014 regarding appropriate medication indicators. Diabetes quality of care indicators were 33 indicators, including process , medication indicators and outcomes indicators. Frequency percentage, and mean were used to analyze data.

          During the studied period, there were 10 of 23 Tambon Health Promotion Hospitals that doctors providing services care to diabetes patients. Assessing the quality of diabetes care services could identify 6 indicators of services (1 process indicator and 5 outcomes indicators) that passed the criteria such as the percentage of advised patients to quit smoking, foot ulcer, amputation, diabetic nephropathy, myocardial infarction and cerebral infarction. Twenty-one indicators were not passed the criteria and six indicators could not be evaluated due to lack of data or there were no setting goal. The improvement by enhancing diabetes care service systems and data recording and networking could improve quality of diabetes care in Tambon Health Promotion Hospitals.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ