การศึกษาชีวิตของแรงงานต่างด้าวในเซียงกงบางนา จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ปาวดี สีหาราช

Abstract

               การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เซียงกงบางนา และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานต่างด้าวและเซียงกง บางนาที่เชื่อมโยงกับทุนนิยม โดยใช้แนวคิดเรื่อง “ชีวิตที่เปลือยเปล่า” (bare life) ของ จิออร์จิโอ อเกมเบน นักปรัชญาการเมืองชาวอิตาเลี่ยน ในการทำความเข้าในความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตคน อำนาจ และพื้นที่ดังกล่าว งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานต่างด้าวและสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่เซียงกงบางนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้วยสถานะของการเป็นคนยากจนและผิดกฎหมาย แรงงานต่างด้าวที่อาศัยและทำงานอยู่ในเซียงกงบางนาถูกทำให้มีสภาพเป็น “ชีวิตที่เปลือยเปล่า” ซึ่งความเปลือยเปล่านี้คือการถูกดึงเข้ามาให้เป็นแรงงานในพื้นที่และกีดกันให้เป็นเพียงแค่แรงงานไร้ฝีมือราคาถูก และ 2) เซียงบางนาเป็นกลุ่มทุนนิยมที่สามารถสอดแทรกตัวเองเข้ากับนโยบายรัฐ และหาช่องทางในการเอาประโยชน์จากผลกระทบของนโยบายดังกล่าวที่เกิดขึ้น ด้วยการทำให้ตัวเองเป็นพื้นที่ที่สามารถรวบรวมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไว้และเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างด้าวจากสถานะที่เปราะบางของพวกเขา


             This qualitative research has two following purposes: 1) to study the life of migrant workers who live in Sieng-Kong Bangna and 2) to study and analyze the relationship between the migrant workers and Sieng-Kong Bangna and how the relationship connect to capitalism. By using the concept of “bare life” of Giorgio Agamben, an Italian political philosopher, this research aim to clear understand the relation between human’s life, power, and space. This research conducts by in-depth interview and participant observation methods. From the research results: 1) with poor and illegal status, the migrant workers who live and work in Sieng-Kong Bangna are made to be a bare life, cheap and unskilled labor and 2) Sieng-Kong Bangna as a capitalist unit  has a potential to merge itself to state’s policies and take advantage from the effects of those policies. By making itself as a space that can pull and collect illegal migrant workers in its area and to exploit them from their precarious status.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ