การพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในแหล่งท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง

Main Article Content

พิทักษ์ ศิริวงศ์
นรินทร์ สังข์รักษา
ลัคนา ชูใจ

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง 2) ประเมินศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง 3) จัดอบรมความรู้ให้กับผู้สนใจจัดที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง 4) จัดทำคู่มือและติดตามการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในแหล่งท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง ดำเนินการวิจัย  4 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม การจัดอบรม การศึกษาดูงาน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน


             ผลการวิจัย พบว่า  (1) การศึกษาสภาพการณ์ และความต้องการในการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองอยู่ในระดับมาก (2) ประเมินศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ อยู่ในระดับมาก มีบริบทของพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง อยู่ในระดับมาก (3) การนำไปใช้โดยการอบรมมีคะแนนก่อนการอบรมและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การศึกษาดูงาน มอบใบงาน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ได้ผลการพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบ 2 แห่งและจัดทำคู่มือการจัดการและท่องเที่ยวโฮมสเตย์ (4) ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายต่อโครงการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์อยู่ในระดับมากและถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้นมีความสำเร็จ จากผลการดำเนินการพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบ ปัจจัยนำสู่ความสำเร็จจากผู้นำและความร่วมมือของสมาชิก และเกิดการพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบ และบทเรียนในด้านข้อจำกัดของสถานที่พัก ทุนการจัดตั้ง และการดำเนินงานให้บริการ เนื่องจากมีอาชีพส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม


              The action research was aimed to 1) study situations and demand for developing the homestay of three villages located in U Thong Ancient City 2) evaluated their potentials and the training course for the entrepreneurs who is interesting in this business 4) manipulate the manual of how to run the business and follow all the activities of development. The research processes were divided into 4 stages. The research instruments were structural questionnaire, guideline for in-depth interview, guideline for focus group discussion, training course, study tour, and arrangement of exchangeable learning forum. The collected data was then analyzed in its contents and with Social Program in additional to the lessons were learnt.


               From the results it could be concluded as follows:


               -The general situations in these three village areas and all the demand, potentials, readiness and the specific context served to the functions of homestay in U-Thong Ancient City  were evaluated at much level.   


               - From the training course the trainee group could get the post-test score significant higher than the pre-test score P < 0.05.


               - The target group had his positive attitude toward the development project at much level.


               - From the study tour, the assigned paper and the arrangement of learning forum the model of homestay in two sites and the manual of homestay management and tourist were manipulated. The successful factors were the leadership skills of community leaders and the involvement of community dwellers. The obstacle factors were that the places of homestay were limited and the money capital was not enough to run the business. The services were unprofessional practiced due to the community dwellers were farmers and so most of them lacked of the skills to this.         


               - However from the lesson learnt this could be said to that the project was success and the model of homestay was going on the development.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ