ผลการเรียนแบบผสมผสาน รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

วันวิสาข์ พยัฆซ้อน
สมหญิง เจริญจิตรกรรม

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการเรียนแบบผสมผสานรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง คอมพิวเตอร์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง คอมพิวเตอร์ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 5 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3  จำนวน 40 คน  ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบผสมผสาน รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์ 2) กิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน 3) แบบประเมินกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนแบบผสมผสาน 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนแบบผสมผสาน 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent  Samples


              ผลการวิจัย  พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสาน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องคอมพิวเตอร์ พบว่า ในส่วนของห้องเรียนปกติ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x= 2.59, S.D.= 0.57) ในส่วนของห้องเรียนออนไลน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (x= 2.55,  S.D.= 0.71) 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสาน ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์ พบว่า อยู่ในระดับดี (x= 4.44 , S.D.= 0.82)


              The objective of this research were: 1) to compare learning achievement between before learning and after learning of Mathayomsuksa four students by blended learning on career and technology : computer subject 2) to study the learning behaviors of Mathayomsuksa four students after learning by blended learning on career and technology : computer subject 3) to study the opinions of Mathayomsuksa four students on blended learning on career and technology : computer subject. The sample consisted of 40 students in Mathayomsuksa 4/5, 2nd semester of academic year 2015 were randomly selected by simple random sampling The instruments of this research were: 1) blended learning lesson plans on career and technology : computer subject 2) blended learning activities on career and technology : computer subject 3) evaluation form for blended learning activities on career and technology : computer subject 4) observation form of blended learning behavior on career and technology : computer subject 5) blended learning achievement test on career and technology : computer subject 6) questionnaire for satisfaction of blended learning on career and technology : computer subject The statistics used for data analysis were mean (x)  , standard deviation (S.D.), and t-test Dependent Samples


               The results of the study were as follows: 1) the results of the comparison of learning achievement between before learning and after learning of students by blended learning on career and technology : computer subject were different at the statistically significant 0.01 level 2) the results of the learning behaviors of the students on blended learning on career and technology : computer subject found that in the normal classroom, the overall score was at very good level (x= 2.59, S.D.= 0.57) and in the online classroom, the overall score was at very good level good (x= 2.55, S.D.= 0.71) 3) the results of the study of learners' opinions on blended learning on career and technology : computer subject were at good level (x= 4.44 , S.D.= 0.82).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ