การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล
นรินทร์ สังข์รักษา
สมชาย ลักขณานุรักษ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการและความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี 2) ศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี  3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม  แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีเสวนา และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวที่ศึกษามีความพร้อมในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  แนวโน้มมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ระดับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงศาสนาภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาได้รูปแบบมีชื่อเรียกว่า “MADANA Model” มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) M=Managing to Tourism (การจัดการการท่องเที่ยว) 2) A=Attraction for Tourism (สิ่งที่ดึงดูดใจในการท่องเที่ยว) 3) D=Diversity of Tourism  (ความหลากหลายของการท่องเที่ยว) 4) A=Activity of Tourism (กิจกรรมทางการท่องเที่ยว)  5) N=Networking of Tourism (เครือข่ายการท่องเที่ยว) และ6) A= Amenity of Tourism (ความประทับใจในการท่องเที่ยว)  3)  การประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายจากการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนการอบรมก่อนทดสอบอยู่ในระดับกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบผลการอบรมคะแนนก่อนและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี อยู่ใน  ระดับมาก


           This project was implemented and based on research and development methods. It was aimed to :1) study situations for management of religious tourism in Ratchaburi province ;2) generate a model of religious tourism management of Ratchaburi province ;3) trying out the draft model for management of religious tourism of Ratchaburi province. ;4) evaluating, improving and proposing the final model for management of religious tourism in Ratchaburi province. The research procedures were divided into 4 stages: Stage 1: studying basic data: Stage 2: designing and developing research instruments: Stage 3: trying out the draft model for and Stage 4: evaluating, improving and proposing the final model. The research instruments were guidelines in-depth interviews, seminar forum, and non-participatory observation. The collected data was quantitatively and qualitatively analyzed and presented to frequency, percentage, mean, standard deviation t-test and its content analysis.  The results could be demonstrated as follows: 1) The situations had its readiness for supporting to the development of religious tourism. The tourists had their chances to visit the tourist sites more increasingly and their motive of this tourism was overall evaluated at much level. 2) The one model was generated and named “MADANA Model”.  This acronym stands for managing to tourism, Attraction for tourism , Diversity of tourism ,Activity of tourism, Networking of tourism and Amenity of tourism. 3) To evaluate the more knowledge of target group gained from the training, it could be said to that before the training the target group had their mean score of pre-test at moderate level. After that the training was terminated and the post-test was measured and presented to be at high level. From these comparativeness, the post-test had its significant higher score than the pre-test at p =.05. 4) The satisfaction of target group had the model development of religious tourism management of Ratchaburi province at much level.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ