การศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้บริการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตกรณีศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน

Main Article Content

กัลยาณี แนวแห่งธรรม
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยเอกสารสำหรับจัดทำการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้บริการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตกรณีศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ- หัวหิน และประยุกต์เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR สำหรับศึกษาซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มผู้เชี่ยวชา แบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) จำนวน 17 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (EDFR รอบที่1) และแบบสอบถาม (EDFRรอบที่ 2)  และส่งให้ผู้เชี่ยวชาญอีก 5 ท่าน ในการหาค่าความสอดคล้องของความคิดเห็น โดยใช้สถิติฟลีสแคปปา (Fleiss Kappa) เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มีความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานการให้บริการ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1 ด้านเศรษฐกิจ 1) ส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 3) การสร้างแรงดึงดูดในการลงทุนจากต่างประเทศ 4) เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 2 ด้านการขนส่ง  1) ผู้ใช้บริการ 2) สิ่งของ 3 ด้านความปลอดภัย 1) ความปลอดภัยของสถานี 2) ลดอุบัติเหตุ 3) การแก้ไขจุดตัดทางเดินรถไฟ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม 1)  ด้านนิเวศวิทยา, มาตรการป้องกัน และลดผลกระทบ  2) การระบายน้ำ และควบคุมน้ำท่วม 3) ด้านประวัติศาสตร์และโบราณสถานออกแบบโครงสร้างทางยกระดับและสถานีให้มีความโปร่ง  4) ด้านเสียงและการสั่นสะเทือน 5) ด้านการแบ่งแยกเส้นทางขณะดำเนินงาน


 


          The purpose of this research was to investigate for A Study need Assessment of Service Provision Hight – Speed Rail in the Future a Case Study Bangkok – Huahin Route. And the application of research techniques EDFR. A sample of snowball sampling Participants included 17 connoisseurs. interview form connoisseur. (EDFR1) And questionnaire. (EDFR 2) and Send to another 5 connoisseur. The research instruments included Fleiss Kappa. Results indicated that the adjusted Project  Hight – Speed Rail Study Bangkok – Huahin Route Need Assessment divided into 4 aspects. The first aspect was the economy. 1) Tourism Promotion. 2) Income distribution to local. 3) the attraction of foreign investment. 4) Economic Value. The second aspect was Transportation 1) Users of service. 2) Object The third aspect was Safety. 1) Reduce accidents. 2) Rail intersections. 3) Station Safety. The forth aspect was Environmental impact. 1) Ecology, Defensive measure. 2) Flood management. 3) History and Archaeological. 4) Noise and Vibration. 5) The Separation paths.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ