การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่ง ทางจิตใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กาญจนา นาคปัจฉิมสกุล
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
สุขอรุณ วงษ์ทิม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุของความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 999 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความแข็งแกร่งทางจิตใจ  แบบสอบถามความหยุ่นตัว แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี  และแบบสอบถามการเผชิญปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าความเชื่อมั่นที่  0.85, 0.84, 0.70 และ 0.82 ตามลำดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ


            ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยความแข็งแกร่งทางจิตใจของนักเรียน ประกอบด้วย 3  ปัจจัย คือ ความหยุ่นตัว  การเผชิญปัญหา และการมองโลกในแง่ดี พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ =2.53 (p-value = 0.11) มีค่า GFI เท่ากับ 1.00 มีค่า AGFI เท่ากับ 0.99 มีค่า SRMR เท่ากับ 0.01 มีค่า RMSEA เท่ากับ 0.03  ชี้ให้เห็นว่าโมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์


          The purposes of this research were to study analysis of causal relationship of hardiness of students. The group of sample in 999 students at secondary school in Bangkok of academic year 2016 by random sampling multistage. The instrument for data collection is measure of hardiness of students are  resilience’s questionnaire, optimism’s questionnaire, and coping’s questionnaire.  The result showed the reliability was at 0.85, 0.84, 0.87 and the analysis model are the Pearson correlation analysis to model and the structural analysis of a causal relationship.


The research findings were as follows:


               The research result found that analysis of causal relationship of hardiness of students. There were 3 factors consisted of  Resilience , Coping  and Optimism. Results of monitoring the merging of models with empirical data in the index group showed the Chi-square = 2.53 (p-value = 0.11)     GFI = 1.00  AGFI = 0.99  SRMR = 0.01  RMSEA  = 0.03  and the other indexes suggests that the models based on the assumptions are in harmony with the empirical data.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ