ทัศนคติและมุมมองการสร้างความสุขจากดนตรีของผู้สูงอายุ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ช่อผกา กิระพล
สิริชัย ดีเลิศ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและมุมมองการสร้างความสุขจากดนตรีของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 9 คน และสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีการฟังดนตรีในระดับที่แตกต่างกันไป โดยมีภูมิลำเนา สภาพแวดล้อม การประกอบวิชาชีพ สังคม เพื่อน ครอบครัว และรูปแบบการดำเนินชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจำแนกระดับการฟังดนตรีของผู้สูงอายุ สามารถจำแนกผู้สูงอายุจากการฟังดนตรีออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้ฟังดนตรีที่ชื่นชอบและหลงใหลในเสียงดนตรีที่ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับดนตรี 2) ผู้ฟังดนตรีที่ชื่นชอบและหลงใหลในเสียงดนตรีที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับดนตรี 3) ผู้ฟังดนตรีทั่วไป และ กลุ่มผู้สูงอายุมีทัศนคติและมุมมองที่ดีในการฟังดนตรีเพื่อสร้างความสุขที่แตกต่างกัน


          The purpose of this research was to study attitude and perspective to create happiness from music of the elderly in Bangkok Metropolitan Region. This research was a qualitative research by method of Phenomenology from key informant to specific information as a purposive sampling which were the elderly who are 60 years old or more in Bangkok Metropolitan Region. The numbers of elderly that used in this research were 9 persons and used an in-depth interview method. The results from this study found that the elderly are listening to music in different levels. The domicile, environment, the professions, society, friends, family and life styles from the past to the present are the important element in the classification level of listening to music of the elderly. There are 3 groups that the elderly can be classified from listening to music. 1) Music listener who has the passion and favor in music which profession about music. 2) Music listener who has the passion and favor in music which not profession about music. And 3) General music listeners which not profession about music. The Elderly people have good attitudes and perspectives in listening to music to create different pleasures.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ