แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

Main Article Content

ทิพย์สุดา สมนา
มนต์นภัส มโนการณ์
ยงยุทธ ยะบุญธง

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี
3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 และ 4) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการศึกษา 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการกำหนดและพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 รวมทั้งสิ้น 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) การศึกษาการดำเนินงานจากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จากบุคลากรในสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (3) การจัดทำแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่ศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาสังเคราะห์และเขียนสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และ (4) การตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของแนวทางฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า


               1) สภาพการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ด้านการปรับปรุงแก้ไขและการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ด้านการวางแผนในการกำหนด
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านการนำอัตลักษณ์ของสถานศึกษามาปฏิบัติ ตามลำดับ


               2) การดำเนินงานจากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี พบว่าสถานศึกษาที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีมีกระบวนการในการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาด้วยวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่คุณภาพของสถานศึกษา


               3) การจัดทำแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนการกำหนดอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ควรนำกระบวนการบริหารด้วยวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง เข้ามาใช้ ควรมีการวิเคราะห์บริบทสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการนำอัตลักษณ์
ของสถานศึกษามาปฏิบัติ ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดโครงการ/กิจกรรมควรเป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย ผู้บริหารควรดูแลช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก 3) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ควรให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการและเครื่องมือในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ใน
การประเมินควรกำหนดค่าร้อยละของความสำเร็จไว้อย่างชัดเจน และ 4)ด้านการปรับปรุงแก้ไขและ
การธำรงรักษาอัตลักษณ์ ควรสอดแทรกอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเข้าไปในกิจกรรมที่สถานศึกษาปฏิบัติ
มีการสรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และประชาสัมพันธ์ของอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างทั่วถึง


            4) ผลการตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์
ของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด


          The objectives of this study were 1) to study the conditions of basic schools identity development, 2) to examine the operation in developing identity basic schools among basic schools where have the good practice, 3) to create the guidelines in developing the identity of basic schools in Chiang Mai Primary Educational Service Area 1, and 4) to validate for accuracy and the appropriateness of the guidelines to develop the identity of basic schools. The research methodology was done by 4 steps: (1) the study on the conditions of basic schools identity development in Chiang Mai Primary Educational Service Area 1 was conducted from 172 school administrators, the teachers who were responsible for defining and developing identity of schools. The questionnaires were used for data collection, then were analyzed by frequency percentage, mean, and standard deviation, (2) the examination on 4 schools which was studied from personnel for the best practice. The instrument was the interview that them was analyzed by the content, (3)  working  for the guidelines in developing the identity of basic schools in Chiang Mai Primary Educational Service Area 1, for this step the researcher interpret the data from step 1 and step 3, then conclude the findings as the guidelines, and (4) the validation of to validate for accuracy and the appropriateness of the guidelines  to develop the identity of basic schools was conducted by 5 educational experts who had the right qualifications from the regulations. To collect the data, quality check form was used and then was analyzed by mean and standard deviation. The finding indicated that:


               1) The overall opinions of the conditions of basic schools identity development were at the high level. Considering in each aspect, they were arranged in descending of means as the aspect of supervision, monitoring, and evaluating, the aspect of improvement and maintenance of school identity, the aspect of planning in defining the identity, and the aspect of identity implementation, respectively.


               2) The operation of the best practice school showed that they had the best practice in the process of school identity development in accordance with Deming Cycle (PDCA) supporting the school context with the focus of school quality.


               3) To create the guidelines in developing the identity of basic schools in Chiang Mai Primary Educational Service Area 1, the guidelines included 1) planning and defining the school identity should implement the Deming Cycle (PDCA), analyze the school context and offer opportunities for the stakeholders to work with, 2) school identity implementation: the responsible person who manages the projects/ activities should fulfill with knowledge, be able to organize variety of activities, and the administrators should help and facilitate them, 3) the aspect of supervision, monitoring, and evaluating, all parties should participate in setting methodology and instruments for evaluation.  Moreover, the instruments have been set the clear percentage of success, and 4) the aspect of improvement and maintenance of school identity: there should have school identity in activities conduction, have the summary of projects/ activities done, and publicize the school identity thoroughly.


               4) The overall outcomes and in each aspect after checking for accuracy and the appropriateness of the guidelines in developing the identity of schools had the highest level above the specified criteria.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ