การศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ธนันวัฒน์ อัครพัชร์อมต
เอกนฤน บางท่าไม้

Abstract

          การวิจัยในครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพ และความต้องการ ด้านรูปแบบการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ นักศึกษา และพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ และ 2) ศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บุลากรสายวิชาการ นักศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 390 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน  9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.แบบสอบถาม 2.แบบสัมภาษณ์  และ3.แบบประเมินความเหมาะสม ค่าสถิติวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (%)  ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D )


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ด้านสภาพ และความต้องการข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ สายสนับสนุน วิชาการ และนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง รับทราบข่าวสารการจัดกิจกรรมนักศึกษามากที่สุด และรับรู้ประกาศเตือนความปลอดภัยเป็นอันดับสุดท้าย การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ในการรับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับน้อย พบว่าใช้ช่องทางการสื่อสารทางเว็บไซต์ www.pnru.ac.th มากที่สุด และ SMS เป็นอันดับสุดท้าย ความต้องการข้อมูลข่าวสารโดยรวมมีความต้องการการดำเนินงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมากที่สุด และการรับสมัครงาน เป็นอันดับสุดท้าย พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ต้องการข่าวสารการดำเนินงานต่าง ๆของมหาวิทยาลัย มากที่สุด และต้องการข่าวสารการรับสมัครงานอันดับสุดท้าย นักศึกษาต้องการ ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา มากที่สุด และต้องการกิจกรรมบุคลากร เป็นอันดับสุดท้าย พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการต้องการข่าวสาร การดำเนินงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มากที่สุด และ ทุนสำหรับการวิจัย /ค้นคว้าทางวิชาการเป็นอันดับสุดท้าย ความต้องการช่องทางการสื่อสารโดยรวมต้องการ www.pnru.ac.th มากที่สุด และต้องการ e-office น้อยที่สุด พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ต้องการ www.pnru.ac.th มากที่สุด และต้องการรายการโทรทัศน์ u-channel น้อยที่สุด นักศึกษาต้องการ www.pnru.ac.th มากที่สุด และต้องการ e-office น้อยที่สุด พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ต้องการโซเชียลมีเดีย Facebook มากที่สุด และต้องการรายการโทรทัศน์ u-channel น้อยที่สุด

  2. การศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่องานการประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และเอกสารตำรา พบว่ารูปแบบการสื่อสารประกอบด้วย 1)องค์ประกอบ 12 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายของมหาวิทยาลัย,วัตถุประสงค์ประชาสัมพันธ์, การบริหารจัดการ,บุคลากรเครือข่ายการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์,งบประมาณ,วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ,แหล่งสาร,ผู้สร้างสารและส่งสาร สารเพื่อประชาสัมพันธ์,ช่องทางการสื่อสาร,ผู้ถอดสาร และผลลัพธ์จากการสื่อสาร 2)กระบวนการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วยวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ,กำหนดยุทธ์วิธี ,สื่อสารสร้างสรรค์ และตรวจสอบประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการสื่อสารเพื่องานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผ่านการประเมินความเหมาะสมในระดับเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย ( = 4.39) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.16)

The objectives of this research were 1) To study conditions and requirements on internal organization public relations communication model for the academic staffs, students, and academic support staffs. 2) To study internal organization public relations communication model of Phranakhon Rajabhat University. The sample group was 390 academic staffs, academic support staffs and students and 9 experts. The instruments used for the research 1) sample questionnaire, 2) public relation communication interview form, 3) evaluation form using statistics data analysis as follows: percentage (%), mean ( ), standard deviation (SD).


  1. From the research result, it was found that the state of awareness and PR information usage needs of the academic support staffs and students were at a moderate level with student activities awareness was at the highest, the security alert was the last. Using PR to receive information was at a lower level. It was also found that using web site for communication www.pnru.ac.th was the most and SMS was the least. In the aspect of the demand for information in general, the university operations was at the highest and recruitment was the last. Academic staffs demand for news on university operation and the latest recruitment was at the most. The students demand for student activity news was at the most and personnel activity news the last. The academic support staff demand for news on technical information university operation was at the most, university operations and funding for academic research was the last. In the aspect of communication channels as a whole, www.pnru.ac.th was the most and e-office was the least. The academic staff demand for www.pnru.ac.th was the most and u-channel TV was the least. The student demand for www.pnru.ac.th was the most and e-office the least. The academic support staff demand for social media Facebook was most and u-channel TV was the least.

            2. From the study on the internal organization public relation communication model from the expert opinion and the textbook, it was found that the communication model consisted of 1) 12 elements: university policy, public relations objectives, management, personnel, networks, communications and public relations, budgets, materials and equipment, resources, message for public relations, communication channel, disassembly, and communication results, 2) The internal organization public relation communication process consisted of 4 steps consisted of situational analysis and problem identification, operational status, planning-decision-making, communication / action, and communication verification evaluation. The results of the evaluation of appropriate internal organization public relation communication model of Phranakhon Rajabhat University were the high level ( = 4.39),(S.D. = 0.16).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ