ความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ธัญญภัสร์ ศิรธัชนราโรจน์
สกล วรเจริญศรี
ปริญญา มีสุข

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1           ปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 กลุ่ม/ภูมิภาค คือ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มภาคเหนือ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มภาคกลาง กลุ่มภาคตะวันตก และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 441,816 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง 600 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเอง และความหยุ่นตัวโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัยพบว่า


 


  1. ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบการวัดความภาคภูมิใจในตนเองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ (=4.67 df = 2) ค่าไค-สแควร์แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า ไม่ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่ารูปแบบการวัดความภาคภูมิใจในตนเองสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และดัชนีวัดความกลมกลืน (Goodness-of-fit index: GFI=0.99) มีค่าเข้าใกล้ 1 ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjustedgoodness-of-fit index: GFI=0.98) มีค่าเข้าใกล้ 1 รวมทั้งดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (root mean squared residual: RMR=.00) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่ารูปแบบการวัดความภาคภูมิใจในตนเองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

  2. ผลการตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบการวัดความหยุ่นตัวกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ (=24.64, df= 15) ค่าไค-สแควร์แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า ไม่ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่ารูปแบบการวัดความหยุ่นตัวสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และดัชนีวัดความกลมกลืน (Goodness-of-fit index: GFI = 0.98) มีค่าเข้าใกล้ 1 ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjustedgoodness-of-fit index: GFI = 0.97) มีค่าเข้าใกล้ 1รวมทั้งดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (root mean squared residual: RMR=.01) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่ารูปแบบการวัดความหยุ่นตัวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

             3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน ความภาคภูมิใจในตนเองและความหยุ่นตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความสัมพันธ์กันทางบวกคิดเป็นร้อยละ 67.56

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ