ระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน

Main Article Content

บุรินทร์ สารีคำ
ผศ.ดร.กาญจน์ เรืองมนตรี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน 2) เพื่อศึกษาผลการนำระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้านไปใช้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิประเมินระบบจำนวน 9 คน และกลุ่มทดลองการใช้ระบบเป็น ครูและบุคลากร จำนวน 10 คน และผู้ปกครอง จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของระบบ และ ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ระบบ 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) บุคลากร (2) งบประมาณ (3) การบริหารจัดการ และ(4) วัสดุ อุปกรณ์ 2) ด้านกระบวนการ มี 9 องค์ประกอบ คือ (1) การสร้างความตระหนักในครอบครัว (2) การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน (3) การประเมินสมรรถภาพพื้นฐาน (4) การจัดทำแผนการให้บริการ (5) การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (6) การทบทวนการให้บริการ (7) การเปลี่ยนผ่าน (8) ความร่วมมือช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ (9) การบริการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 3) ด้านผลผลิต มี 3 องค์ประกอบ คือ (1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน (2) การพัฒนาทักษะเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน และ (3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4) ด้านข้อมูลป้อนกลับ มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การรายงานผล และ (2) การนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ผลการประเมินระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก สำหรับผลการประเมินคู่มือการใช้ระบบ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับ มาก 2. ผลการนำระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน ไปใช้ พบว่า ครู บุคลากร ผู้ปกครองมีคะแนนผลการทดสอบความรู้เกี่ยวความเข้าใจสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ผลการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการวัยเรียนตามบ้าน สูงขึ้นทุกทักษะ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อระบบ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก


          The purposes of this research were to: 1) Develop the early intervention services system for children with disabilities aged home;


2) Identify the early intervention services system for children with disabilities aged home. These papers are research and development. The research informants were 9 experts for system evaluation and experimental group using the system include 10 teacher and personnel and 5 parent. purposive selected samples. The instruments which were used in this research are the suitability test, the test and the satisfaction assessment form. The statistics used in the study were percentage, mean, and standard deviation.


              The results of the research were as following:


            1) The early intervention service system for children with disabilities aged home, consisted of 4 Input factors including (1) personnel, (2) budget, (3) management and (4) materials, The process factors consisted of 9 factors including (1) raising awareness in the family, (2) basic information collection, (3) basic Performance Assessment, (4) planning a service plan, (5) implementation of the plan into action. (6) service review, (7) transition, (8) cooperation with relevant agencies, and (9) services, facilities, medias, services and other educational assistances. The production factors consisted of 3 factors including. (1) knowledge and understanding about helping children with disabilities, (2) development of disabled children skills, and (3) satisfaction of stakeholders. The feedback consisted of 2 factors including. (1) report, and (2) improverment and correction. The system evaluative finding by experts, found that in overall, the appropriability was in high level, the possibility was in the highest level and the usefulness was in high level. and the evaluative findings of handbook for system use, found that the propriety was in high level. 2) The effects of the application on the early intervention services system for children with disabilities aged home. teachers, staff, parents have scores of knowledge test results, Higher understanding. About early intervention and passed the 80 percent. Children with disabilities have the potential for development, advanced every skill. and satisfied with the system the overall average was high.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ