การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ปรารถนา ศิริสานต์

Abstract

          การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก โดยมีจุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทป้ายบอกข้อมูลและเอกสารแนะนำประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในรูปแบบของการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก โดยมีขอบเขตในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมและวีถีชีวิตในอดีตภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก


                    กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมและวีถีชีวิตในอดีตภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก ด้านการจัดวางองค์ประกอบมีการจัดวางองค์ประกอบของลวดลายใหม่ให้เกิดความสนใจแก่ผู้พบเห็น และง่ายต่อการจดจำเมื่อแสดงต่อสาธารณชน 3 รูปแบบ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ป้ายบอกข้อมูลและให้ความรู้ต่างๆ แผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ และบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาต้นแบบที่แสดงถึง    ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแนวคิดของพิพิธภัณฑ์ จากนั้นส่วนที่สอง คือ การทดสอบความพึงพอใจด้านการรับรู้ในรูปแบบของการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 200 คน ผลของการศึกษาความพึงพอใจ ด้านการใช้งาน ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากข้อมูล และด้านความสวยงาม พบว่ารูปแบบประเภทป้ายให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ แผ่นพับ และบัตรเข้าชม   มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งคุณค่าที่ได้จากงานวิจัยในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม วิถีดำเนินชีวิตในอดีตสามารถดึงดูดคนในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญพิพิธภัณฑ์มากขึ้น


          Development public relations media for learning of local wisdom for Jathawee folk museum in Phitsanulok province with the aim of education. 1) To develop public relations media type of signposts and brochures to promote the Museum of Jathawee, Phitsanulok. 2) To study the satisfaction in the form of learning and public relations of the museum visitors. Folk village in Phitsanulok. The scope of the design of the learning media provides an insight into the culture and past life within the Jathawee folk museum, Phitsanulok.


          The research process is divided into two parts: a learning media model to gain an understanding of the culture and life in the museum, Phitsanulok Province The composition of the composition of the new pattern to attract the attention of the audience. And easy to remember when presented to the public 3 forms, which are divided into 3 types: signage and information. Brochures for public relations and tickets to the museum and presented to experts for the development of prototypes that reflect the local wisdom consistent with the concept of the museum. Then the second part is to test the satisfaction of visitors in the form of media design, learning and public relations. The Museum attracts around 200 visitors in Phitsanulok Province. The value and benefits of the data and the aesthetics found that the label type pattern provides product information, brochures and tickets. Satisfaction was at a high level. The value of this research is to promote cultural tourism. It disseminates wisdom and knowledge of the arts and culture in the past can attract more people in the present day, more important to the museum.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ