การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

Main Article Content

ปรียนันท์ ทิพากร
ธงชาติ วงษ์สวรรค์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) ปัญหาการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และ 3) แนวทางในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศึกษาเชียงราย เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยสภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา  และปัญหาการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศึกษาเชียงราย เขต 2 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน รองลงมา ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียน ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำการวิจัย 2) ปัญหาการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทั้งภาพรวมและรายด้าน ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำการวิจัย คือ ด้านการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และ ด้านการให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน และ3) แนวทางในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ควรกำหนดนโยบายสนับสนุนการวิจัย  ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัย ควรมีการจัดหาแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการทำวิจัย ควรให้รางวัลและเกียรติบัตรแก่ครูที่มีผลงานทางการวิจัย  ควรยกย่อง ชมเชยครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนทั้งในโรงเรียนและต่อสาธารณชน ควรให้ครูมีส่วนร่วมเสนอนโยบายในการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียน ควรแนะนำและให้ความรู้แก่ครูเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลทางการวิจัย  ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติงานวิจัย ควรจัดระบบการบริหารที่สนับสนุนการวิจัย  ควรพยายามให้คำแนะนำด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ควรส่งเสริมให้มีครูผู้นำด้านวิจัยเพื่อจูงใจให้ครู   


            ได้ทำการวิจัยในชั้นเรียน ควรให้การสนับสนุนผลการวิจัยของครู  เพื่อนำไปเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น  ควรใช้ผลงานวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาความดีความชอบ  และควรส่งเสริมให้ครูที่มีผลงานวิจัยเป็นผู้นำทางวิชาการ


          This research were aimed to study 1) For overall and each  aspect  of situation in enhancement for conducting  classroom  research of school administrators, Under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2. 2) For overall and each  aspect  of  problem  in enhancement for conducting  classroom  research of basic education administrators, Under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2. and 3) For  guidelines  in enhancement for conducting  classroom  research of  basic  education administrators, Under the Chiangrai Primary Educational Service Area Office 2. This research population were 184 school administrators Under  the    Chiangrai Primary Educational  Service  Area  office 2. The instrument was used the questionnaire with five-level scale included the level of For overall and each  aspect  of situation in enhancement for conducting  classroom  research of school administrators and For overall and each  aspect  of  problem  in enhancement for conducting  classroom  research of basic education administrators which the reliability is 0.97. The statistics used in data analysis were percentage (%) mean (m) standard deviation (s) and Content analysis.


               The results showed that 1) For overall and each  aspect  of situation in enhancement for conducting  classroom  research of school administrators, the practices were in  “High”  level. The aspect highest level of practice was the respect for teachers who conducted classroom research. The aspect with subordinate level of practice, was the responsibility for teachers who conducted classroom research. The aspect with the lowest level of practice, was the support for progress of teachers who conducted research 2) For overall and each  aspect  of  problem  in enhancement for conducting  classroom  research of basic education administrators, they  were in  the “Low”  level. The aspect with highest level of problem was the support for work success of classroom research. The aspect with subordinate level of problem, was the support for progress of teachers who conducted research. The aspect with the lowest level of problem, was the respect for teachers who conducted classroom research, and was the awareness in importance of classroom research and 3) For guidelines in enhancement for conducting classroom research of  basic education administrators, should set the policy in supporting the research, should be given financial support to the research, should sources of funding support to the research, should be given the reward and honorable certificate to the teachers with prominent performance, should praise teachers who conducted classroom research both schools and publicly, should be given the teachers participate in policy classroom research management, should suggest and knowledge for teachers about source of information research, should provide training to develop a better understanding and practices research, should management system support to the research, should advise knowledge about the research to improve the teaching of teachers, teachers should encourage leadership encourages teachers to lead the research to encourage teachers to conduct classroom research, should support the findings of the teacher to be promoted to a higher position, research should be used in the classroom as part of the feat, teachers should encourage research with academic leadership.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ