รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงของนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

พิชญาภา ยืนยาว
ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานการศึกษา  2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงในรายวิชาพื้นฐานการศึกษา และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงในรายวิชาพื้นฐานการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาพื้นฐานการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 แบ่งเป็น ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน ได้มาด้วยการกำหนดโควตา ระยะที่ 2 ประชาการ จำนวน 303 คน และระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจสภาพปัญหาการศึกษา แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานการศึกษาพบว่านักศึกษาในความสนใจในเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษาให้ความร่วมมือกับกิจกรรมในห้องเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากระยะเวลาเรียนจำนวน 180 นาที ซึ่งยาวนานเกินไป และกิจกรรมในห้องเรียนไม่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน

  2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิง ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการทำกิจกรรมเดี่ยว 2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม 3) รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการดูสื่อวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน และ 4) รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับเกมส์และการดูวีดีทัศน์นอกเหนือจากบทเรียน

  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการสอนวิชาพื้นฐานการศึกษา พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการดูสื่อวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับเกมส์และการดูวีดีทัศน์นอกเหนือจากบทเรียน  รูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม และรูปแบบการเรียนการสอนแบบวิชาการร่วมกับการทำกิจกรรมเดี่ยว ตามลำดับ

          The purpose of this research were to 1) study the conditions and problems of present learning management in the subject of Foundations of Education; 2) identify edutainment instructional model in the subject of Foundations of Education; and 3) study the students’ opinion towards the satisfaction of the edutainment instructional model in the subject of Foundations of Education. The research methodology was the Survey Research. The research sample was the students of Nakhon Pathom Rajabhat University who registered in the subject of Foundations of Education in semester 2, academic year 2016 was divided into 3 phases. In the first phase, the research sample was 160 students derived by quota sampling. In the second phase, the research population was 303 students. In the third phase, the research sample was 175 students derived by simple random sampling. The research instrument were survey form for learning problem, learning log, and the opinionaire towards the instruction with edutainment instructional model. Data were analyzed by frequency, percentage, mode and content analysis.


   The research findings revealed that:


   1.The present learning conditions and problems in the subject of Foundation of Education were as follows: students were interested in lesson at the high level; interaction between instructors and students was at the moderate level; and students participated with classroom’s activities at the moderate level.  There were 180 minutes for each session which was too long period and classroom activities was not compatible with students’ interest.                2.Edutainment learning model consisted with 1) the academic instructional model of together with student’s individual activities; 2) the academic instructional model of together with student’s teamwork activities; 3) the academic instructional model of together with Video related with lesson; and 4) the academic instructional model of together with games and Video not related with lesson.


   3.The students’ opinion towards the satisfaction of the edutainment instructional model were ranked as follows: the academic instructional model of together with Video related with lesson; the academic instructional model of together with games and Video not related with lesson; the academic instructional model of together with student’s teamwork activities; and the academic instructional model of together with student’s individual activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ