โมเดลสมการโครงสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

มารศรี แนวจำปา
ณรงค์ฤทธิ์ อินทะนาม
จำลอง วงษ์ประเสริฐ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและตรวจสอบความตรงของโมเดลประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์มีปีที่พิมพ์ตามตัวเล่มวิจัย พ.ศ. 2548–2559วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของ Hunter and Schmitdt (2004) และตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างดังกล่าว โดยใช้ค่า  ซึ่งวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Mplus 7.3


            ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย 7 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะกระบวนการ ด้านจิตลักษณะส่วนบุคคล ด้านสติปัญญา ด้านทักษะที่จำเป็นในการแก้ปัญหา ด้านภูมิหลัง และด้านพฤติกรรมผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมไม่พบว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาแยกเป็น 3 ระดับ พบว่า 1) ระดับประถมศึกษาปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลโดยตรง และไม่มีปัจจัยใดที่ส่งผลทางอ้อมต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 7 ปัจจัยส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และมีเพียงปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลทางอ้อมต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยผ่านสามเส้นทาง คือ ผ่านด้านทักษะกระบวนการ ด้านจิตลักษณะส่วนบุคคล และด้านภูมิหลัง 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจัยด้านพฤติกรรมเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมมี 2 ปัจจัย คือ การจัดการเรียนรู้ และภูมิหลัง โดยทั้งสองปัจจัยอ้อมผ่านปัจจัยด้านพฤติกรรม ทั้งนี้ โมเดลสมการโครงสร้างทั้ง 3 ระดับดังกล่าวข้างต้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (มีค่า 0.9687 ถึง 0.9991, มีค่า


          The purpose of this research was to develop the structural equation model on mathematical problem solving ability of basic education students and to check the model's accuracy. The population used in the study is a graduate thesis that deals with the mathematical problem solving of learners in the basic education level. From nationwide universities published in the online thesis database in 2005-2016. Analyze the structural equation model according to the concept of Hunter and Schmitdt (2004) and check the consistency of the equation model using the value analyzed by Mplus program 7.3.


          The result of the study revealed as follows :7 factors are the management of learning. Process skills Personality, intelligence, basic skills, background and behavior.In the overall picture of the students in the basic level of education. No factors were found that directly affected the ability to solve mathematical problems. And when considering 3 levels, it was found that: 1) Primary The learning management factor is the only factor that directly affects. And any factors that contribute indirectly to their ability to solve mathematical problems, 2) Junior high school  factor 7 directly affect your ability to solve mathematical problems. The only aspect of learning that indirect effect on the ability to solve mathematical problems through three routes through the acquisition process. Personal aspects And background 3) Senior High school  Factors behavioral factors that directly affect the ability to solve mathematical problems and the factors that contribute indirectly to 2 factors, namely learning and backgrounds by two factors indirectly through the behavior of the model equations. the 3 structures above the level consistent with empirical data ( 0.9687-0.9991, 0.4997-1, 1, 1-1.007, = 0), the model offers. These predictive ability in solving mathematical problems percent, 95.80, 99.60, 98.80 respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ