การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย สำหรับนิสิตปริญญาตรี

Main Article Content

วิภาดา พินลา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย สำหรับนิสิตปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย สำหรับนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 52 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาสิทธิมนุษยชนศึกษา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในวิชาสิทธิมนุษยชนศึกษา แบบประเมินพฤติกรรมประชาธิปไตย การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที่แบบไม่มีอิสระ (t-test  dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


  ผลการวิจัย  พบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย สำหรับนิสิตปริญญาตรี มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ประกอบด้วย หลักการ การตอบสนอง ระบบสังคม และสิ่งสนับสนุน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นรื้อฟื้นพลเมืองประชาธิปไตย 2) สืบสาวพลเมืองประชาธิปไตย 3) ถ่ายทอดบทบาทพลเมืองประชาธิปไตย 4) เสวนาพลเมืองประชาธิปไตย 5) ลงมือปฏิบัติพลเมืองประชาธิปไตย

  2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 2.1) หลังเรียนตามรูปแบบนิสิตมีความรู้ความเข้าใจในวิชาสิทธิมนุษยชนศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นิสิตมีผลประเมินพฤติกรรมประชาธิปไตยสูงขึ้นจากระดับการรับรู้คุณค่าเป็นระดับการจัดระบบคุณค่า 2.3) นิสิตมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย สำหรับนิสิตปริญญาตรีอยู่ในระดับมากที่สุด

          This research aimed to: 1) development of learning process model to enhance democratic behavior for Undergraduate Students; 2) determine the effectiveness of using development of learning process model to enhance democratic behavior for Undergraduate Students. The sample used in this research, drawn according to the purposive sampling, included 52 second year undergraduate students majoring in social studies, Faculty of Education, Thaksin University, Songkhla Campus during the second semester of the 2016 academic year, who have enrolled in Human Rights Education course. The research instruments included lesson, achievement tests in the Human Right Education course, and a form for assessing students’ democratic behavior. The data were analyzed using such statistics as arithmetic mean (), standard deviation (S.D.), the t-test dependent and content analysis.


The findings of the research revealed the following:


  1. The development of learning process model to enhance democratic behavior consisted of three elements: 1) principles of the learning management model; 2) objectives of the learning management model; 3) learning management process; and 4) conditions for implementing the learning management model, which consisted of principles and responses, social system, and supportive elements.  Developed learning management model involved five stages of learning management: 1) restoration of democratic citizenship, 2) search for democratic citizenship, 3) spreading the role of democratic citizenship, 4) organizing civil democratic dialogue, and 5) actual practice of democratic citizenship.

          2. For the effectiveness of the model, it was found that: 2.1) After learning with the model, students showed a higher level of knowledge and understanding of Human Rights Education than before learning with model at the .05 level of significance. 2.2) Students evaluation result a high democratic behavior up from the level of perceived value to the level of organization of the value system. 2.3) Students’ satisfaction toward the model was at higher level most.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ