ผลการใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ลดาวัลย์ กันธมาลา
สุพจน์ อิงอาจ
ศยามน อินสะอาด

Abstract

             การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านและวิธีสอนแบบปกติ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(3) เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3และ (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนโดยผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


               กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มจากประชากร โดยการจับสลากมา 2 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 และ 3/4 รวมจำนวนนักเรียน 98 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 (2) เว็บไซต์ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 (3) แบบบันทึกองค์ความรู้ และตั้งคำถาม (4) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหา (5) แบบทดสอบความรู้และทักษะการแก้ปัญหา (6) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (7) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน และ (8) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนโดยการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน


               ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  (1) นักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านมีคะแนนสูงกว่านักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05(2) นักเรียนที่ใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 (3) ผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับดีมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 และ (4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนโดยผลการใช้วิธีสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3นักเรียนมีความพึงพอใจในวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมาก


 


              In this thesis, the researcher examines the effects of the flipped classroom teaching method in enhancing the knowledge and problem-solving skills of selected Matthayom Sueksa Three students in Information Technology (IT) 5. 


             In carrying out this task, the researcher compares (1) the academic achievement in IT 5 of those students instructed by the flipped classroom teaching method and traditional methods, respectively.  The researcher also determines (2) the effects of the flipped classroom teaching method in enhancing knowledge in IT 5 of these students.  Moreover, the researcher investigates (3) the effects of the flipped classroom teaching method in enhancing problem-solving skills in IT 5 of the students.  Finally, furthermore, the researcher considers (4) the opinions of the students instructed by means of the flipped classroom teaching method.


             The researcher selected 98 members of the sample population from two classrooms, viz., Matthayom Sueksa 3/2 and Matthayom Sueksa 3/4.


             The research instruments were as follows:


             (1) an academic achievement test; (2) lesson plans for IT 5; (3) the website for IT 5; (4) a record of the body of knowledge commanded and the questions posed by the students; (5) exercises for problem-solving skills; (6) a questionnaire eliciting the opinions of experts; (7) a questionnaire eliciting the opinions of students; and (8) an interview form for eliciting the opinions of the students instructed by the flipped classroom teaching method.


Findings are as follows:


             (1) In comparing the academic achievements of the students instructed by the flipped classroom teaching method and those taught by traditional methods, the researcher found that the academic achievement of the former was higher than that of the latter at the statistically significant level of .05. 


             (2) The effects of using the flipped classroom teaching method in enhancing knowledge in IT 5 of the students were found to be at a very good level with a mean at 4.55 with a standard deviation of 0.58. 


             (3) The effects of the flipped classroom teaching method in enhancing problem-solving skills in IT 5 of these students were displayed at a very good level with the mean at 4.43 with a standard deviation of 0.52. 


             (4) The opinions of the students instructed by the flipped classroom teaching method in IT 5 were found to show satisfaction at a high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ