ผลการเรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน 3 มิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศิรินทิพย์ จันทร์สุวรรณ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ 3) ประเมินผลงานสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน จากการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และนำมาจัดกลุ่มผู้เรียนตามระดับคะแนนความคิดคล่องแคล่วก่อนเรียนสูง กลาง และต่ำ อย่างละ 2 คน ได้จำนวนสมาชิกเป็นกลุ่มละ 6 คน


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ 2) สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 4) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ 5) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.23-0.77 และค่าอำนาจจำแนก (r)  ระหว่าง 0.22-0.69  และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 6) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนตามแนวกิลฟอร์ด 7) แบบประเมินผลงานการออกแบบชิ้นงาน 3 มิติ ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากง่าย ค่าความเชื่อถือได้ และสถิติทดสอบสมติฐานค่าที (t-test แบบ Independent)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน


ของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็น


จริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ  ซินเนคติกส์ แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.73 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.73  ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินผลงานสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.40 อยู่ในระดับดีมาก 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่เรียนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับเทคนิคการสอนแบบซินเนคติกส์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 อยู่ในระดับดีมาก


          The purposes of this research were 1) to compare student’s learning creativity between pretest learning and posttest learning 2) to compare student’s learning achievement between pretest learning and posttest learning 3) to evaluate 3D design of students’ learning posttest 4) to study students’ opinions towards learning by augmented reality collaborates with synergetic teaching. The sample used in this study was one class and 30 students was simple random sampled for this study and grouping students by creativity scores in high, medium and low level for 6 students for a group (2 students per level)


               The instruments used in this study were 1) lesson plan by using smart technology mixed together with synergetic teaching 2) technological media by augmented reality (80.33/82.44)  3) evaluation form of technological media by augmented reality 4) evaluation form of students’ opinions to learning by using technological media by augmented reality 5) students’ learning achievement form 6) student’s learning achievement between pretest learning and posttest learning 4 choices 30 items the  difficulty between 0.23-0.77,  the discrimination between 0.22-0.69 and the coefficient of reliability is 0.84 7) evaluation form 3D design of students’ learning. The statistics used in this study were percentage, average scores standard deviation, reliability scores, validity scores, the easy difficulty and the t-test dependent.


            The results showed that 1) the comparison of student’s learning creativity towards learning by augmented reality collaborates with synergetic teaching results were differentiate from pretest learning and posttest learning. The statistically significant at .01 level 2) students’ learning achievement results before the test were statistically at the 14.73 and students’ learning achievement results after the test were statistically significant at the 24.73 and the satisfaction scores of students after the test were at a high level. The statistically significant at .01 level 3) the evaluation’s results of students learning by augmented reality collaborates with synergetic teaching found that it was the average scores at 17.40 very good level 4) evaluation form of students’ opinions to learning by using technological media by augmented reality found that it was the average scores at 4.51, the average scores standard deviation at the 0.52 They were at very good level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ