การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่มีผลต่อความสามารถ ในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต

Main Article Content

จุติมา ศิลปภักดี
สมหญิง เจริญจิตรกรรม
เอกนฤน บางท่าไม้
นภาภรณ์ ยอดสิน

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์  1) เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานด้วยกระบวนเรียนรู้ร่วมกันที่มีต่อความสามารถในการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่มีผลต่อความสามารถในการเขียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 468 208 หลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Simple Random Sampling) 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2)  แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) กิจกรรมการเรียนแบบผสมผสาน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 


             การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent  Samples


             ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาบทเรียนผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62 , S.D.= 0.52) มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการออกแบบบทเรียน 2) กระบวนการจัดกิจกรรม 3)การประเมินผล 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่มีผลต่อความสามารถในการเขียน ในรายวิชา หลักการประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี (= 4.00 , S.D.= 0.70)   


 


             The purposes of the research were: 1) to evaluation of blended learning using collaborative learning instruction on news writing  ability for public relations,


             The sample used in the research consisted of 46 undergraduate students at Faculty of Education, who registered in 468 208 Educational Public Relations in the first semester of academic year 2015 , Silpakorn University. The instruments of this research were: 1) a structured interviews, 2) lesson plan via blended learning by using collaborative learning, 3) a blended learning activities, 4) a questionnaires on student opinion.  The data analysis were mean (standard deviation (S.D.) and t-test Dependent Samples.


              The results of this research were as follows: 1) The quality of blended learning using collaborative learning instruction was at the highest level (= 4.62, S.D.= 0.52) consisted of 3 components as the following: 1) principles 2) instructional process and 3) measurement and evaluation 2) The students’ opinion with blended learning by using collaborative learning instruction on writing ability was  at a good level (= 4.00 , S.D.= 0.70)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ