การพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาค

Main Article Content

ชาญวุฒิ วงศ์เพ็ง
ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ
กัมปนาท บริบูรณ์

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับข้าราชการ สำนักงานศึกษาธิการภาค (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาค กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการที่ปฏิบัติราชการอยู่ในสำนักงานศึกษาธิการภาคทั่วประเทศ จำนวน 150 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาคและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อ รายด้าน และโดยภาพรวม จัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI Modified)


             ผลการวิจัยพบว่า


            1.   โดยภาพรวม ข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาคทุกระดับตำแหน่ง มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านวิชาการ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านวิชาการ ข้าราชการทุกระดับตำแหน่ง มีความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำในรายข้อที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การบริหารสารสนเทศและการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ด้านทักษะ พบว่า ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและชำนาญการพิเศษ มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการตัดสินใจ การบริหารความขัดแย้ง สำหรับข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ ชำนาญงาน ปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านการคิดวิเคราะห์ และการทำงานเป็นทีมด้านคุณลักษณะ ข้าราชการดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและชำนาญการพิเศษ มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านการฟัง อย่างสร้างสรรค์ และการเจรจาต่อรอง ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ ชำนาญงาน ปฏิบัติการ และปฏิบัติงาน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำ ด้านคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และจรรยาบรรณข้าราชการ


  1. ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ สำหรับข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาค ด้านวิชาการ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการฝึกอบรม (Training) ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Doing) และขั้นตอนการนำเสนอผลงาน (Sharing) โดยมีกระบวนการสนับสนุน 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการสร้างความตระหนักรู้ (Self-awareness) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ (Learning by experience) กระบวนการสะท้อนคิด (Refection) และกระบวนการทบทวนเพื่อพัฒนา (Action review)  

       The purposes of this study were (1) to study the needs for leadership development for regional education’s officer; and (2) to guideline for leadership development for regional education’s officer. The sample consists of officers from the regional education office around Thailand. There were 425 subjects chosen by multistage sampling. The instruments used in this study included the questionnaire of the needs for leadership development for regional education’s officer and guided interviews developed by researcher. The data were statistically analyzed by using the frequency, percentage, mean, and sort of priority setting of the needs for leadership development for regional education’s officer.


             The results of the study were as follows:


  1. Overall, the needs for leadership development of the regional education’s officers at all levels. They need to develop academic, skills and attributes in order. When considering each side, it is found that the academic; the regional education’s officers at all levels, they need to develop about planning, information management, monitoring and evaluation. Skills; the officers who are expert level and senior professional level, they need to develop in decision-making and conflict management. On the other hand the officers who are professional level, experienced level, practitioner level and operational level, they need to develop in critical thinking and teamwork. Attributes; the officers who are expert level and senior professional level, they need to develop in dialogues and negotiates. On the other hand the officers who are professional level, experienced level, practitioner level and operational level, they need to develop in moral, honesty and ethics.

  2. The proposal for leadership development of the regional education’s officers in academic, skills and attributes consist of 3 steps: Training, Doing, and Sharing. And there are four supporting processes: the process of awareness raising (Self-awareness), the process of learning by experience, the process of reflection, and the process of action review.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ