ปัจจัยทางสังคมและทัศนคติของชาวกำแพงแสนต่อภาษาไทยถิ่นของตน

Main Article Content

อรประพิณ กิตติเวช
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ
จุฑามณี อ่อนสุวรรณ

Abstract

                บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติของชาวกำแพงแสนต่อภาษาไทยถิ่นกำแพงแสนกับปัจจัยทางสังคม (อายุ เพศ และกลุ่มพื้นที่) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และตอบคำถามเชิงทัศนคติจำนวน 10 ข้อ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีจำนวน 180 คน ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูล 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุต่ำกว่า 25 ปี รุ่นอายุ 30-55 ปี และรุ่นอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งเกิดและเติบโตในอำเภอกำแพงแสนจากถิ่นที่อยู่ 6 กลุ่มพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยระดับทัศนคติและผลการทดสอบทางสถิติของ เครเมอร์ส วี (Cramer’s V) พบว่า ระดับทัศนคติต่อภาษากับตัวแปรอายุ เพศ และกลุ่มพื้นที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางกรณี โดยกลุ่มตัวอย่างรุ่นอายุต่ำกว่า 25 ปี มีแนวโน้มทัศนคติในเชิงบวกต่อภาษาถิ่นกำแพงแสนน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างรุ่นอายุอื่น ด้านตัวแปรเพศพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาถิ่นกำแพงแสนมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ ตัวแปรกลุ่มพื้นที่ก็มีผลต่อทัศนคติต่อภาษาถิ่นของตนเช่นกัน เมื่อพิจารณาเฉพาะพื้นที่ใจกลางอำเภอกำแพงแสน พบว่า กลุ่มพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณกำแพงแสน (CB) มีทัศนคติเชิงบวกมากกว่าพื้นที่ใจกลางอำเภอ (CA) อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างพื้นที่ชายขอบที่มีอาณาเขตติดกับจังหวัดราชบุรี (ME) มีระดับทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาถิ่นกำแพงแสนมากที่สุด


              This work explores relationship between Kampaeng Saen residents’ social factors (age, sex, and geographical area) and their attitudes towards the Thai dialect spoken there, using interviews along with 10-item questionnaires. The sample group consists of 180 male and female residents, who were born and live in Kampaeng Saen, in three age groups: 25 years old and younger, 30-55 years old, and 60 years and over, from six geographical areas. Results and statistical (Cramer’s V) test showed statistically significant relationships between their attitudes and the three social factors in some questionnaire items but not all. The younger age group have lower positive attitudes towards the dialect than other age groups. Moreover, Kampaeng Saen females tend to have higher positive attitudes towards the dialect than the males. Geographical areas appear to influence their attitudes. When considering only central area residents, it was found that the group from ancient city (CB) have higher positive attitudes than that from the other central area (CA). In all, residents from marginal area, adjacent to Ratchaburi province (ME) have the most positive attitudes towards the Kampaeng Saen dialect.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ