แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างองค์การภาคเอกชน ร่วมกับองค์การภาครัฐ และองค์การภาคไม่แสวงหากำไร: กรณีศึกษาอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างองค์การภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ กับองค์การภาครัฐ และองค์การภาคไม่แสวงหากำไร ในอำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญและอุปสรรคของการสร้างความสัมพันธ์ โดยรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญขององค์การภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจที่มีกิจกรรมโดดเด่นทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวนสามแห่ง ประกอบด้วย องค์การภาคเอกชนสองแห่ง และรัฐวิสาหกิจหนึ่งแห่ง และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญขององค์การภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมขององค์การเอกชน/รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งผู้ให้ข้อมูลสำคัญของภาคส่วนอื่นที่มีบทบาทขับเคลื่อนกิจกรรมในรอบบริเวณพื้นที่ที่องค์การเอกชน/รัฐวิสาหกิจตั้งอยู่


            ผลการศึกษาพบว่า องค์การทั้งสามแห่งมีรูปแบบการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ ความรับผิดชอบต่อสังคมหลังกระบวนการ กลยุทธ์ที่องค์การใช้ในการสนองตอบต่อความเป็นสถาบัน พบว่า องค์การ A และองค์การ C ใช้กลยุทธ์การยินยอม (Acquiesce) โดยการเชื่อฟัง (Compliance) ด้วยการยินยอมเชื่อฟังกฎระเบียบหรือข้อกำหนดของทางสถาบัน พิจารณาจากการออกแบบโครงสร้างองค์การที่มีโครงสร้างผู้รับผิดชอบด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างชัดเจน ขณะที่องค์การ B ใช้กลยุทธ์การประนีประนอม ส่วนแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างองค์การภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ ร่วมกับองค์การภาครัฐ และองค์การภาคไม่แสวงหากำไรนั้นประกอบด้วย การรวมกลุ่มหน่วยงานอาสา (Voluntary agency federations) ด้วยการสนับสนุนให้พนักงานทำกิจกรรมจิตอาสา และแนวทางการสร้างความสัมพันธ์โดยการทำกิจกรรมร่วมกัน (Joint programs) ทั้งในรูปแบบบันทึกข้อตกลงร่วมกันและการสร้างความสัมพันธ์จากการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อพัฒนาชุมชน ทั้งในเรื่องการศึกษา และการดูแลสิ่งแวดล้อม


               ข้อค้นพบในเรื่องปัจจัยสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ กับองค์การภาครัฐ และองค์การภาคไม่แสวงหากำไร ในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าประกอบด้วย รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ความมุ่งมั่นต่อความสัมพันธ์ วิธีการสื่อสารระหว่างองค์การ ความไว้วางใจระหว่างองค์การ นโยบายของผู้บริหาร และความจริงใจขององค์การแต่ละแห่ง ขณะที่อุปสรรคของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ องค์การภาครัฐ  และองค์การไม่แสวงหากำไร คือ การขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน ความห่างเหิน และความไม่ไว้วางใจของแต่ละฝ่าย


 


              This research aimed to study 1) the guidelines of Inter-Organizational Relations between firm/public enterprise, government agency, and non profit organization in Warin Chamrab district, Ubon Ratchathani province on corporate social responsibility and 2) the critical factors and the obstacles of Inter-Organizational Relations. Documentary research and in-depth interview were use in order to collect data from the key persons of three firm/public enterprises that had outstanding activities on corporate social responsibility: consist of two companies, one public enterprise, and the key persons of public agency, affected by the activities of firm/public enterprise, and also the key persons of non profit organization that driving role on corporate social responsibility around the located area of firm/public enterprise.


               The research findings were revealed as follow: The case studies of three organizations consist of two corporate social responsibility approaches: not only CSR-in-process, but also CSR-after-process. The strategy that the organization used to respond the institutionalization, found that the organization A and the organization C were use acquiesce from compliance with agreement the rules or requirements of the institution, considered from the organization design that had the person clearly responsed to the corporate social responsibility. While the organization B used the compromise strategy. Whereas the guidelines of corporate social responsibility relations between firm/public enterprise, government agencies, and non – profit organization consist of: the voluntary agency federations by contributing the employees to take action for volunteer, and the joint programs that are the form of MOU and social activities to develop the education,  and to take care the environments of communities.


              The findings of the critical factors Inter-Organizational Relations between firm/public enterprise, government agencies, and non – profit organization consist of: the Inter-Organizational Relations forms, the Inter-Organizational Relations commitment, the communication way, and the trust between organizations. Whereas, the obstacles of Inter-Organizational Relations are the lack of community participation, the alienation, and the distrust of each sector.  Implications are discussed.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ