กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน กรณีศึกษาบ้านยางแดง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
ชิดชงค์ นันทนาเนตร

Abstract

             บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านยางแดง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเรื่องการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตร การศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนต้นแบบของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขตนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล การสัมภาษณ์รายกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ โดยเก็บข้อมูลจากกรรมการบริหารกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม และนักพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาความรู้ ความสามารถและความคิดของเกษตรกร นำไปสู่การดำเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) การตระหนักและสนใจในปัญหาเรื่องปากท้อง 2) การทบทวนความคิดและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน 3) การเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน 4) การสรุปบทเรียน และ 5) การขยายผลและสร้างเครือข่าย โดยมีเป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง คือ การเห็นความสำคัญและเพิ่มความมั่นใจในการพึ่งตนเองด้านอาหารและการผลิตอาหารที่ปลอดภัยภายในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน


 


            This article aimed to present the result of the study on a learning process to enhance on food security of Ban Yang Dang, Khu Yai Mi Sub District, Sanam Chai Khet District, Cha Choeng Sao Province. This research result is part of the study on development of a learning process to promote changes on food security in agricultural communities. This research is a qualitative research. The research methods were documentary research, observation, in-depth interviews and informal group interviews. The key informants were group committees, group members and development workers. The results of this research revealed that the learning process develop the farmers in terms of knowledge, thinking and abilities enhancing food security at household and community level. There are five steps of the learning process which are: 1) realized and interested in food security issues 2) learning and implementing together 3) Lessons learned 4) expanding the results and networking. The important goals of learning are to realize the importance of food self-reliance and to produce food safety trough sustainable agricultural systems.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ