การค้นคืนและเข้าถึงความรู้ด้านผ้าล้านนาของแหล่งสารสนเทศด้านผ้าล้านนา ในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พัฑรา พนมมิตร
วรรษพร อารยะพันธ์
พิเชษฎ์ จุลรอด

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการค้นคืนและเข้าถึงความรู้ด้านผ้าล้านนาของบรรณารักษ์และผู้ใช้บริการในแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมและจัดเก็บความรู้ด้านผ้าล้านนาในเขตภาคเหนือตอนบน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) บรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่ และ 2) ผู้ใช้บริการ รวมทั้งสิ้น 13 คน จากแหล่งสารสนเทศด้านผ้าล้านนา จำนวน 7 แห่ง ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการสารสนเทศด้านผ้าล้านนาของแหล่งสารสนเทศในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ด้านการจัดหาและรวบรวมสารสนเทศส่วนใหญ่ได้มาจากการจัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ และการขอหรือได้รับบริจาค รวมถึงแหล่งสารสนเทศบางแห่งผลิตสารสนเทศด้านผ้าล้านนาขึ้นมาเอง ด้านการวิเคราะห์และจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ มีการจัดระบบโดยใช้การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิ้วอี้ (D.C.) ร่วมกับทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ในขณะที่แหล่งสารสนเทศบางแห่งยังไม่มีการจัดระบบให้กับทรัพยากรสารสนเทศ มีเพียงการกำหนดเลขทะเบียนและการกำหนดแถบสีตามกลุ่มความรู้  เพื่อเป็นเกณฑ์ในการจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศด้านผ้าล้านนา ส่วนใหญ่บันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ (OPAC) รวมถึงแหล่งสารสนเทศทุกแห่งประสบปัญหาในด้านเครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้นความรู้ด้านผ้าล้านนา ส่งผลให้ผู้ใช้บริการหาหนังสือไม่พบ 2) การค้นคืนและเข้าถึงความรู้ด้านผ้าล้านนา ผลการศึกษาพบว่า ด้านการค้นคืนผู้ใช้บริการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ประกอบการทำวิจัยในประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของผ้าและการแต่งกาย โดยสืบค้นผ่านฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ (OPAC) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดคำค้นจากคำสำคัญ (Keyword) ศัพท์อิสระ (Free term) มากกว่าหัวเรื่อง (Subject) ปัญหาในการค้นคืนความรู้ด้านผ้าล้านนา คือ การใช้คำค้นที่เป็นศัพท์เทคนิคหรือศัพท์เฉพาะด้านผ้าล้านนา เนื่องจากคำศัพท์ด้านผ้าล้านนามีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ มีความคลุมเครือจากคำพ้องรูปและพ้องเสียงในภาษาไทย บางกรณีเกิดความผิดเพี้ยนจากการสะกดคำเนื่องจากแปลจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง


 


           This research aims to study the retrieving and accessing to knowledge of Lanna textiles in libraries from librarians and users using the information resources about Lanna textiles that are collected and recorded in the system in the area of Upper Northern Thailand by using Qualitative Research, and collecting information by interviewing. The research tool is qualitative interviewing, the information is given by 1. Librarian/officer, 2. 13 users from 7 libraries using information resources of Lanna textiles.


            The results are divided into 2 parts, 1) The management of information resources of Lanna textiles, the study found that the major information providing and collecting was purchased under the annual budget, and some were from sponsor and donation including some information resources that was produced by service providers. Therefore, the information system analysis in libraries were systematized by using the Dewey Decimal Classification (D.C.) together with other information resources. Meanwhile, some libraries still need to have information system analysis because the resources/books were categorized by setting up registration numbers and putting color tape on the binders under each category. Moreover, all libraries are using Online Public Access Catalog (OPAC) as the system management to record Lanna textiles information. However, all libraries face the same technical problem due to the search engine affecting the users having problems to find their books. 2) The findings of retrieving and access to knowledge of Lanna textiles found that the main objective of looking up of information of users was to use for their research in the field of the types of textiles and dressing. According to the record of Online Public Access Catalog Data Base, the results found that the users used “Keyword” and “Free terms” more than “Subject” to look up for information causing the searching problem because of the technical term or specific words are used differently in different areas. This also confused users due to the choice of words in the information that consist of homograph and homophone. The result as well found that the spelling mistakes were regularly appearing on the resources because of translation from one language to another.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ