การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อรนุช ลิมตศิริ

Abstract

             วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อศึกษาความสำคัญของการศึกษาที่เน้นประสบการณ์นอกห้องเรียนและนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดการ ศึกษานอกห้องเรียนนับเป็น การขยายประสบการณ์เรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ มีเจตคติและเกิดความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษานอกห้องเรียนมีลักษณะเป็นสหวิทยาการที่บูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันที่เพิ่มพูนประสบการณ์ในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะที่สำคัญ ๆ รวมถึง ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม การคิดเชิงวิจารณญาณ การแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้การศึกษานอกห้องเรียนยังส่งเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้และการคิดในระดับสูงซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การศึกษานอกห้องเรียนเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนและปลูกฝังคุณลักษณะของการเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตอีกด้วย


 


                 The purpose of this article is to examine the importance of outdoor experiential education and to propose the model of enhancing learning experience in the outdoor. Outdoor experiential education offers an opportunity to connect students to appreciate and understand concepts beyond the norms of the classroom, which increases students’ knowledge, skills, attitude and awareness towards the environment. It is a multi and integrated discipline enhancing students’ learning experiences, encouraging many essential skills including observation skill, questioning skill, critical thinking and problem solving skill, communication skill, collaboration and creativity. Outdoor education also promotes furtherlearning and higher level thinking strategies which are the main concept of learning and living in the 21st century. In addition, Outdoor education motivates the students to learn and have passion to become a life long learner. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ