การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสำหรับห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย: กรณีศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

อรุณ ศรีจันทร์

Abstract

              การวิจัยเรื่องการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสำหรับห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย เป็นการวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย ในสมัยก่อนพื้นที่ฝึกนาฏศิลป์ไทยเป็นเพียงศาลาโล่ง หรือลานโล่งมีร่มเงา ต่อมาเมื่อการเรียนนาฏศิลป์ไทยได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างในปัจจุบัน ทำให้สภาพแวดล้อมของการฝึกเปลี่ยนไปและประสบปัญหาโดยตลอด ทั้งนี้ยังไม่มีมาตรฐานด้านสภาพแวดล้อมกายภาพภายในสำหรับห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย เพื่อใช้ประกอบการออกแบบสถานที่ฝึกซ้อมของสถานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในของห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย 2) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอนของผู้ใช้ห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความต้องการของผู้ใช้ห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย โดยใช้พื้นที่วิจัยที่ห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากภาคเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากข้อมูลภาคสนาม เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม จากนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษาอาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา ภาควิชานาฏดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมภายใน บางพื้นที่มีข้อบกพร่อง จากการถูกแดดและฝน มีความพลุกพล่านไม่เป็นสัดส่วน ด้านพฤติกรรมการเรียนการสอนและความต้องการของผู้ใช้ห้องพบว่า บางพื้นที่รูปทรงห้องฝึกและขนาดพื้นที่ไม่สอดคล้องกับการฝึก แสงสว่างไม่เหมาะสม การรับฟังเสียงไม่ชัดเจน อากาศที่ร้อนเกินไป ผู้ใช้ต้องการพื้นที่เปลี่ยนเสื้อผ้าและเก็บของใช้ส่วนตัว ระบบอุปกรณ์การสอนที่สมบูรณ์ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันสามารถสรุปการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสำหรับห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยได้ว่า ห้องฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยประกอบด้วยห้องฝึกและห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องฝึกต้องมีสภาพแวดล้อมที่เป็นสัดส่วน ไม่พลุกพล่าน ไม่มีเสียงดังรบกวน หากเป็นห้องที่เปิดโล่งต้องป้องกันแดดและฝนได้ ห้องฝึกปฏิบัติโขนต้องอยู่ที่ชั้นล่างของอาคาร ส่วนห้องฝึกปฏิบัติละคร สามารถอยู่ได้ทุกชั้นของอาคาร ลักษณะของห้องฝึกเป็นห้องหน้ากว้างมีเพดานสูง ไม่มีเสาหรือส่วนที่กีดขวาง มีเครื่องใช้ได้แก่ เตียง โต๊ะอาจารย์ แท่นถีบเหลี่ยม กระจกเงาช่วยฝึก อุปกรณ์เครื่องเสียงและฉายภาพ มีงานระบบแสงสว่างและงานระบบเสียงภายในห้องที่สมบูรณ์ ใช้เครื่องปรับอากาศได้ตามความเหมาะสม วัสดุพื้นห้องฝึกมีพื้นผิวเรียบแข็ง ไม่ลื่น สีภายในห้องใช้สีโทนอ่อนที่สบายตา ส่วนห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ต้องมีสภาพแวดล้อมเป็นสัดส่วน ประกอบด้วยตู้ล้อกเกอร์เก็บของใช้ส่วนตัว ม้านั่งและกระจกเงา


 


             The research on “Interior Environmental Design in Thai Classical Dance Studios” was a study to formulate standards for guidelines in designing Thai classical dance studios. In the past, the area used for practicing Thai classical dance was just a simply opened hall with shades. Later, when Thai classical dance study became a part of a conventional education system, the practicing environment has been changed and, at the same time, faced with problems. At a moment, there were no interior environmental standards for designing Thai classical dance studios. The objectives of this study were 1) to study internal environment of Thai classical dance studios, 2) to study the behavior and needs of the users of the studios. The research location took place at Department of Drama and Music, Faculty of Fine and Applied Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathumthani Province. The data were obtained from related documents and research together with the field-work study. The research tools included observation method, interviews and questionnaires. The research population was the 1st up to 4th year students majoring in Thai classical dance education, Thai classical dance education lecturers, and experts in the field. The research findings revealed that the internal area of the studios was damaged from sun-light and rain and it was too crowded. For the users’learning behavior and needs, it was found that the studios physical features and size were not suitable for the practice. The lighting system was not appropriate, the audio system was poor, the temperature in the studios was too warm, and the users needed a place for changing their cloths and putting away their personal belongings. After analyzing all of the data, it could be proposed that the Thai classical dance studios must compose of the practicing rooms and a locker room. The practicing studios must be in an appropriate proportion, not too busy and not too noisy. The rooms must be protected from direct sun-light and rain. The traditional masked dance or Khon practicing rooms must be on  the 1st floor of the building while the practicing rooms for Thai classical drama could be on any floor of the building. The rooms must be in a rectangle feature with high ceiling. There must be no pole or any other obstacle in the rooms. The studios must be equipped with beds, lecturer’s table, pressing into angles stand, mirror, audio, video and lighting system, and an air-conditioner. The surface of the floor must be solid with no slippery. The rooms should be painted with light color. The locker rooms should be in an appropriate proportion with lockers for storing personal belongings, and containing benches and mirror.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ