แนวทางการออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุดเคลื่อนที่ขนาดเล็กของกรุงเทพมหานคร เพื่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

Main Article Content

ชฎาพร ศรีรินทร์
เกษมรัสมิ์ วิวิตรกุลเกษม

Abstract

           ชั้นหนังสือมีความสำคัญสำหรับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุดเคลื่อนที่โดยมีหน้าที่จัด เก็บหนังสือตามหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือที่ต้องการและด้วยนโยบายการปรับเปลี่ยนขนาดรถห้องสมุดเคลื่อนที่ของกรุงเทพมหานครให้เล็กลงเพื่อเข้าถึงชุมชนขนาดเล็ก การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญในการพัฒนาชั้นหนังสือด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุดเคลื่อนที่ขนาดเล็กของกรุงเทพมหานครเพื่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผ่านการสอบถามปัจจัย ความต้องการการใช้งาน พฤติกรรมและความคิดเห็นที่มีต่อการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเคลื่อนที่ จำนวน 21 คน นักเรียนประถมศึกษาที่ใช้บริการจำนวน 380 คน และศูนย์พัฒนาเด็กของกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและสอบถามด้วยแบบประเมินค่า 3 ระดับและแบบสอบถามลักษณะตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลพบว่าแนวทางในการออกแบบชั้นหนังสือสัมพันธ์กับปัจจัย พฤติกรรมและความต้องการดังนี้ ลักษณะการจัดเรียงหนังสือคือหันด้านสันหนังสือและด้านหน้าปกออกด้านข้างซ้ายของรถ การปิด-เปิดประตูรถคือเปิดประตูออกด้านข้างและมีประตูเล็กด้านท้ายรถ การแบ่งพื้นที่ภายในรถคือตำแหน่งชั้นหนังสือเป็นรูปแบบตัวแอลโดยอยู่ชิดด้านข้างขวาโดยหันชั้นหนังสือมาทางด้านในรถ โครงสร้างชั้นหนังสือคือปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน วัสดุคือสแตนเลสและไม้เพื่อความแข็งแรง และโทนสีคือสีโทนสว่างเพื่อดึงดูดความสนใจนักเรียน


 


              Bookshelves in mobile library are necessary for reading activities. They are used to store books which are sorted into various categories, so that library users are able to search for their desired books. Currently, Bangkok Metropolitan aims to adjust bookmobile to match small communities. Thus, this research emphasizes on developing a design guideline for bookshelves stored inside small-sized mobile library in order to promote reading activities. The research is conducted using quantitative methods by collecting information on factors influencing library usage, user behavior and opinions related to reading activities inside bookmobile from the representative samples, which are 21 mobile library officers and 380 children from Child Development Center of Bangkok Metropolitan as well as primary schools. Data are collected through observation, 3-point scales and checklist. The results of descriptive statistics analysis show that bookshelf design is linked to the behaviors and needs of library users. For instance, book covers and spines should be displayed out from the left side of the bookmobile. There should be one door at the side and one small door at the back. Bookshelf should be L shape and placed on the right side of the bookmobile and faces inside. Additionally, the structure of bookshelf should be able to adapt to all kinds of reading activities. The material should be stainless steel and wood due to durability. Light color tone is used to attract children.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ