ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อทักษะ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ยุทธศิลป์ แปลนนาค
ชัยรัตน์ โตศิลา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวิจัย และระยะที่ 2 การทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทดลองใช้เครื่องมือวิจัยกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ 3 หน่วยการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้กับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) เท่ากับ 0.88 0.83 และ 0.87 ตามลำดับ และแบบวัดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ 4 ฉบับ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeffient) เท่ากับ 0.80 0.85 0.85 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA)


             ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ มีพัฒนาการของคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพิจารณาค่าเฉลี่ยทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณทางประวัติศาสตร์ จำนวน 4 ครั้ง ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.67 17.03 20.63 และ 23.60 ตามลำดับ


 


             The purpose of this research was to study the effects of history learning management using DACIR instructional process on critical reading skills in history of tenth grade students. The sample of this research consisted of 30 students who studied in tenth grade. The research was divided into 2 phases which the first phase was the development of research instruments and the second phase was the learning activities trials. The research instruments were 3 unit plans for total 12 hours which IOC were 0.88, 0.83, and 0.87 respectively. The other research instruments were 4 the historical critical reading skills tests which Cronbach's Alpha Coeffient were 0.80, 0.85, 0.85, and 0.86 respectively. The collected data was analized by repeated measures ANOVA.


             The research found that the average point of the critical reading skills in history of students who had been taught by the DACIR instructional process was higher with statistical significance at .05. The average from the 4 times assessment of critical reading skills in history were 11.67, 17.03, 20.63, and 23.60 respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ